.
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วย รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวมอบนโยบาย ในหัวข้อ “การนำ อววน. เพิ่มศักยภาพพื้นที่ จ.ภูเก็ต” ในโอกาสลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต ติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนงานด้าน อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน. ) โดยมี พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษา รมว.การอุดมศึกษาฯ นายสุวิทย์ พันธ์เสงี่ยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผศ.ดร.หิรัญ ประสารการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) นางสาวปัทมา แจ้งใจ ผู้จัดการโครงการโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดร.พรสรรค์ โรจนพานิช รองผู้อํานวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการหน่วยภารกิจยุทธศาสตร์ อววน. การพัฒนาเศรษฐกิจไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชน ให้การต้อนรับ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
นายศุภชัย กล่าวว่า จากสถานการณ์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงสําคัญของโลก ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการอุดมศึกษาและการพัฒนากําลังคน ทั้งเรื่องรูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปเป็นแบบหลายช่วง (Multistage Life) การเปลี่ยนโครงสร้างประชากรซึ่งประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) รวมถึงแนวโน้มความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัล ก่อให้เกิดกระบวนทัศน์ทางการศึกษาและการจ้างงานในรูปแบบใหม่ สู่กลุ่มผู้เรียนบบ Non-age group บทบาทการอุดมศึกษาในการขับเคลื่อนเป้าหมายประเทศจึงจำเป็นต้องมีการกําหนดยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาออกเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย 1.พัฒนาศักยภาพคน (Capacity Building) 2.ส่งเสริมระบบนิเวศวิจัยอุดมศึกษา (Research Ecosystem Building) และ 3.จัดระบบอุดมศึกษาใหม่ (Higher Education Transformation) โดยมุ่งเน้นนโยบายหลัก (Flagship Policies) ที่ครอบคลุม 3 มิติ ประกอบด้วย 1.ด้านการจัดการศึกษา มุ่งเน้นการผลิตกําลังคนตามความต้องการของประเทศ 2.ด้านการวิจัย สร้างนวัตกรรม และบริการวิชาการ โดยกลไกการส่งเสริมความร่วมมือในการวิจัยและบริการวิชาการ การนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์และสร้างผู้ประกอบการใหม่ การเคลื่อนย้ายแลกเปลี่ยนบุคลากร และการดึงดูดบบุคลากรความสามารถสูงจากต่างประเทศมาร่วมดําเนินการวิจัยและนวัตกรรมตามความต้องการของประเทศ และ 3.ด้านการบริหารจัดการ มุ่งเน้นให้เกิดธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา การยกระดับคุณวุฒิและตําแหน่งวิขาการอาจารย์ Digital Transformation และการปฏิรูประบบการเงินให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่า นอกจากนี้ จําเป็นต้องมีกฎหมายและเครื่องมือสนับสนุนในการขับเคลื่อนการอุดมศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ
.
.
ผู้ช่วย รมว.อว. กล่าวต่อว่า หัวใจของกระทรวง อว. ในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคต คือการเตรียมคนไทยให้พร้อมกับศตวรรษที่ 21 และการใช้องค์ความรู้วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบให้กับประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายใต้แนวคิดว่ามหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยต้องไม่ใช่แค่ ‘แหล่งสอนหนังสือ’ แต่ต้องเป็นศูนย์กลางของการแก้ปัญหาและสร้างโอกาสใหม่ให้กับชุมชน และเพื่อให้ทุกอย่างเกิดขึ้นจริง กระทรวง อว. จึงมุ่งเน้นการปฏิรูป 3 ด้าน คือ ระบบบริหาร กฎหมาย และงบประมาณ เพื่อให้สถาบันในพื้นที่มีอิสระในการคิด แต่มีความรับผิดชอบในการลงมือทํา
“นี่คือ Transformation Code ที่จะพาเราสู่ Thailand 5.0 อย่างแท้จริง นอกจากนี้ กระทรวง อว. ได้มีการผลักดันในเรื่อง ‘University Holding Company’ หรือ ‘บริษัทโฮลดิ้งของมหาวิทยาลัย’ ซึ่งถือเป็นโครงสร้างใหม่ในการบริหารจัดการธุรกิจนวัตกรรม จากงานวิจัยและองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัย” โดยมีเป้าหมายให้เป็นสะพานนวัตกรรมที่ต่อยอดองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยสู่เศรษฐกิจจริง กระทรวง อว. มุ่งเน้นให้มหาวิทยาลัยไม่ได้อยู่เพียงในรั้ว แต่ ‘ลงไปอยู่ในใจของชุมชน’ ให้ได้จริง เป็นพื้นที่ที่สร้างนวัตกรรมที่ใช้ได้จริง เปิดกว้างสําหรับทุกวัย และเป็นระบบการศึกษาที่เปิดให้คนเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต" นายศุภชัย กล่าว
ทำข่าว : นางสาวพรชิตา รุกขชาติ
ถ่ายภาพ : นายสุรกิจ แก้วมรกต
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กลุ่มสื่อสารองค์กร
โทรศัพท์ 0 2333 3700
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : MHESIThailand
Instagram : mhesithailand
Tiktok : @mhesithailand
X (Twitter) : @MHESIThailand
YouTube : @MHESIThailand
Call Center
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.