“สร้างองค์กรแห่งปัญญา สร้างคุณค่านวัตกรรม” เป็นวัฒนธรรมองค์กร ซึ่ง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือ วว. หน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำหนดเป็นทิศทางและเป้าหมายร่วมกันของทุกคนในองค์กร ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ สร้างแรงบันดาลใจ และความผูกพันต่อองค์กร รวมถึงสามารถแข่งขันในฐานะหน่วยงานวิจัยระดับประเทศได้อย่างแข็งแกร่ง สามารถสร้างความได้เปรียบและปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ปัจจุบันบทบาทการดำเนินงานของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ซึ่งครบรอบการดำเนินงาน “62 ปี” ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2568 ภายใต้การนำโดย ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. มุ่งขับเคลื่อนองค์กรผ่าน “4 กลยุทธ์ : S – I – E - N” เพื่อนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ไปพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เติบโตยั่งยืน ภายใต้แผนวิสาหกิจ พ.ศ. 2568– 2571 ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนางานวิจัย บริการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี รองรับการวิจัยและให้บริการกับภาคธุรกิจและประชาชน เพื่อเสริมแกร่ง สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ประเทศไทยเติบโตทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ที่ 1 S : Science Technology and Innovation มุ่งเร่งสร้างผลงานวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพี่อตอบโจทย์ประเทศ ในขอบข่ายอุตสาหกรรมแห่งอนาคต 4 กลุ่ม ( 1.เกษตรและอาหาร 2.สุขภาพและการแพทย์ 3.พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ 4.ยานยนต์สมัยใหม่) และครอบคลุม 10 ด้าน (1.นวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ 2.นวัตกรรมอาหาร 3.นวัตกรรมพืชสมุนไพร 4.การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์เชิงอุตสาหกรรม 5.เซลล์บำบัด 6.นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน 7.นวัตกรรมเศรษฐกิจสีเขียว 8.นวัตกรรมพลังงานสะอาด 9.เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน และ 10.เทคโนโลยีระบบอัดประจุไฟฟ้าและระบบควบคุม
กลยุทธที่ 2 I : Infrastructure มุ่งพัฒนาและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้ 1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STI) ได้แก่ สถานที่ผลิตยาหมวดชีววัตถุ (ATMPs, Cell Therapy) ที่ได้รับการรับรองจาก อย. และ Stem Cell Plant มาตรฐาน PIC/S GMP ,Stem Cell Bank ISO IEC 20378 กำลังผลิต 1,200,000 เซลล์/ปี โดยจะสร้างเสร็จในปี 2568 ใช้ระบบบริหารจัดการโดย Contract Development and Manufacturing Organization (CDMO) 2.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพ (NQI) เพื่อรองรับอุตสาหกรรม EV ทั้งการทดสอบ (Testing) และการตรวจสอบ (Inspection) และ 3.การยกระดับโรงงานต้นแบบ เพื่อให้บริการทดลองผลิตในระดับโรงงานอุตสาหกรรม
กลยุทธ์ที่ 3 E : Ecosystem มุ่งเสริมสร้างผู้ประกอบการและอุตสาหกรรม ด้วยวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้แก่ 1.พัฒนาเทคโนธานีให้เป็น “นิคมวิจัยสำหรับเอกชน” และ 2. จัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับธุรกิจนวัตกรรม เพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ทั้งเชิงพาณิชย์ สังคมและสาธารณประโยชน์
กลยุทธ์ที่ 4 N : Network มุ่งสร้างเครือข่ายตอบโจทย์เชิงพื้นที่ ยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยครอบคลุม 1.การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก และ 2.การพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 5 ภาค ผ่านความเชี่ยวชาญของเครือข่ายพันธมิตรและ วว.
การขับเคลื่อนดำเนินงานผ่าน “4 กลยุทธ์ : S – I – E - N” ดังกล่าว อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2568 ซึ่งมีสาระสำคัญในวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสถาบันฯ ให้สามารถดำเนินธุรกิจ ลงทุนหรือร่วมลงทุน และนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ ในกรอบประเด็น ดังนี้
1) ริเริ่ม ส่งเสริม ดำเนินการวิจัย สร้างนวัตกรรม และให้บริการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้มีการนำไปใช้ประโยชน์ และทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันมระดับสากลและพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับผลงานวิจัยและนวัตกรรมหรือธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
3) พัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้มีการใช้ การรักษา การฟื้นฟู และการทดแทนทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สุขอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน
4) ดำเนินการและสนับสนุนการเพิ่มผลผลิต รวมทั้งลดต้นทุนการผลิต โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ และเผยแพร่ผลของการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศ
5) พัฒนาบุคลากรวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยีให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป
6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม
ในปีงบประมาณ 2567 ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ดำเนินงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำเร็จเป็นรูปธรรมทั้งในด้านสนับสนุนการสร้างความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการ บูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาภายใต้งบประมาณสำหรับแผนงานหรือโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือโครงการวิจัยและนวัตกรรมตามภารกิจของหน่วยงาน(Fundamental Fund) โดยก่อให้้ผลกระทบทางเศรษฐกิิจ สัังคมและสิ่งแวดล้อม คิดเป็นมูลค่าเท่่ากัับ 20,906.17 ล้้านบาท และมีีความคุ้้มค่่าในการลงทุน คิิดเป็็น 21.37 เท่่า จากงบประมาณที่่ได้้รัับการจััดสรร
ในก้าวต่อไปของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ภายใต้การดำเนินงานด้วย “4 กลยุทธ์ : S – I – E - N” พร้อมเป็นองค์กรนวัตกรรมสมรรถนะสูง และเป็นองค์กรหลักในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคอุตสาหกรรม SMEs และชุมชนผ่านระบบนิเวศนวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG (Environmental, Social and Governance)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและรับบริการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้ที่ call center โทร. 0 2577 9000 หรือที่ระบบบริการลูกค้า “วว. JUMP”
เผยแพร่ข่าว : นางสาวเยาวลักษณ์ ทับช้างโท
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กลุ่มสื่อสารองค์กร
โทรศัพท์ 0 2333 3700
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : MHESIThailand
Instagram : mhesithailand
Tiktok : @mhesithailand
X (Twitter) : @MHESIThailand
YouTube : @MHESIThailand
Call Center 1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.