20 พฤษภาคม 2568 นายวันนี นนท์ศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ผตร.อว.) และคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการแบบบูรณาการ ประเด็น carbon credit โครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยขับเคลื่อนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero campus) ของสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดยมี ดร. ศรวณีย์ สิงห์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายเพื่อความยั่งยืน (สอวช.) พร้อมด้วยคณะทำงาน สอวช. และ รศ.ดร.ณัฐพงศ์ มกระธัช รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนากิจการมหาวิทยาลัยเพื่อความยั่งยืน (มจพ.) และคณะ ให้การต้อนรับ ณ มจพ.
ในการนี้ ผตร.อว. ได้รับฟังสรุปผลการดำเนินงานโครงการในภาพรวม โดย สอวช. ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 4 หน่วยงาน ดังนี้ 1) กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) 2) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) 3) สอวช. และ 4) ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เพื่อขับเคลื่อนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยปัจจุบันได้มีการสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน (Sustainable University) ในการกำหนดแนวนโยบายเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงาน รวมถึงการกำหนดมาตรฐานการชี้วัดความเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน อันจะเป็นส่วนสำคัญของการยกระดับมหาวิทยาลัยภายในประเทศ ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยที่ลงทะเบียนใช้งานแพลตฟอร์มแล้ว จำนวน 67 สถาบัน โดยมหาวิทยาลัยมีนโยบายและมาตรการในการลดก๊าซเรือนกระจกและเน้นการรณรงค์ ปลูกจิตสำนึกบุคลากรในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ การจะทำให้มหาวิทยาลัยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์นั้น อาจต้องมีการลงทุนเข้ามาร่วมด้วย เช่น EV, Solar cell เป็นต้น ในโอกาสนี้ ผตร.อว. ได้กล่าวขอบคุณคณะทำงานของ สอวช. ที่ได้ดำเนินการขับเคลื่อนและผลักดันนโยบายสำคัญของประเทศให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งได้ชื่นชมคณาจารย์ของ มจพ. ที่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงาน สามารถตอบสนองนโยบายและดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อชุมชนและประเทศ พร้อมนี้ได้เสนอแนะให้ สอวช. เป็นหน่วยงานกลางในการประสาน ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลและแสวงหาองค์ความรู้เรื่องดังกล่าวเพื่อให้เกิดความชัดเจน รวมถึงกระจายองค์ความรู้และการทำงานให้เชื่อมโยงกับ อว.ส่วนหน้า และสถาบันวิจัยในสังกัดกระทรวง อว. เพื่อขยายผลไปยังหน่วยงานต่างๆ พร้อมทั้งพัฒนาและสนับสนุนนโยบายในระดับจังหวัดเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคตซึ่งจะส่งผลในภาพรวมระดับประเทศ
จากนั้น ได้ลงพื้นที่ชุมชนคลองอ้อมนนท์ เยี่ยมชมผลงานวิจัยและนวัตกรรมอนุรักษ์พันธุ์ทุเรียน โดยคณาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ มจพ. ได้นำระบบการวัดข้อมูลการปลูก ติดตามการเจริญเติบโตด้วยโครงข่ายท้องถิ่นไร้สาย ร่วมกับการวัดค่าความสุกของทุเรียนด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต มาใช้กับทุเรียนนนทบุรี ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถควบคุมระบบการดูแลทุเรียนให้มีผลผลิตที่ดี และเก็บเกี่ยวทุเรียนในระยะเวลาที่เหมาะสม ทำให้ลดต้นทุนและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่
ข้อมูลข่าวโดย : กลุ่มตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรชิตา รุกขชาติ
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กลุ่มสื่อสารองค์กร
โทรศัพท์ 0 2333 3700
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : MHESIThailand
Instagram : mhesithailand
Tiktok : @mhesithailand
X (Twitter) : @MHESIThailand
YouTube : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.