กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • ค้นหา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • ติดต่อกระทรวง
  • แผนผังเว็บไซต์
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • หน้าแรก
  • ภาพข่าวและกิจกรรม

อว. จัดระดมสมอง ภาครัฐ เอกชน หน่วยบริหารจัดการทุน มหาวิทยาลัย สื่อมวลขน ชูมาตรการ บีซีจีโมเดล บูรณะประเทศ ชี้เป็นหมัดเด็ดกู้วิกฤติเศรษฐกิจ เหมาะวิถีคนไทยเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงสู่เป้าหมายที่ยั่งยืน

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
28 พ.ย. 2562

Resize of 191128 0008

          (28 พฤศจิกายน 2562) โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส  - กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จัดระดมสมองภาครัฐ เอกชน หน่วยบริหารจัดการทุน มหาวิทยาลัย สื่อมวลขน โดยชูมาตราการเร่งด่วนฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจด้วย BCG โมเดล

          ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า BCG Model (Bio-Circular-Green Model) คือยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทย โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำประเทศไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการขับเคลื่อน และยังเป็นยุทธศาสตร์ที่ตอบโจทย์ประเทศไทยใน 6 มิติ คือ 1. ต่อยอดจุดแข็งไทยด้านความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม 2. เชื่อมโยงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. ตอบโจทย์ 10 ใน 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs 4. ครอบคลุม 5 ใน 10 อุตสาหกรรม S-Curve 5. กระจายโอกาสและความมั่งคั่งสู่เศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจภูมิภาค และ 6. สานพลังมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย ชุมชน เอกชน หน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายต่างประเทศ

Resize of 191128 0009  Resize of 191128 0040

          นอกจากนี้ BCG Model ยังเป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน โดยการผลักดันการพัฒนาภายใต้ BCG Model ต้องผนึกกำลังการทำงานในรูปแบบของ “จตุรภาคี” (Quadruple Helix) ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ, เอกชน/ชุมชน/สังคม, มหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัย และเครือข่ายต่างประเทศ เพื่อเลือกรับ พัฒนาต่อยอด และปรับใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับบริบทของไทย ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ 4 กลไกการขับเคลื่อน BCG (4 BCG Drivers) และ 4 กลไกการส่งเสริม BCG ในลักษณะ 4X4 Matrix โดย 4 กลไกการขับเคลื่อน ประกอบด้วย 1. การพัฒนา 4 สาขายุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งด้านอาหารและการเกษตร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ ตลอดจนด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ 2. การเตรียมกำลังคน ผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการ 3. การพัฒนาเชิงพื้นที่ และ 4. การพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ขั้นแนวหน้า ส่วน 4 กลไกการสนับสนุนประกอบด้วย 1. ปลดล็อคข้อจำกัดทางกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ 2. โครงสร้างพื้นฐานสำคัญและสิ่งอำนวยความสะดวก 3. การสร้างความสามารถของกำลังคน และ 4. ยกระดับเครือข่ายพันธมิตรต่างประเทศ

          “เศรษฐกิจ BCG มีความสำคัญต่อประเทศสูงทั้งในมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการจ้างงานมากถึงครึ่งหนึ่งของจำนวนการจ้างงานรวม มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจรวมกัน 3.4 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP  ซึ่งครอบคลุม 4 สาขา คือ เกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ และการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งมีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าเป็น 4.4 ล้านล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 24 ของ GDP ในอีก 5 ปีข้างหน้า หากมองให้เห็นภาพว่า BCG ช่วยยกระดับเศรษฐกิจไทยอย่างไร” ดร.สุวิทย์ กล่าว

Resize of 191128 0036  Resize of 191128 0037

          รมว.อว. กล่าวถึงรายละเอียดใน 4 สาขา ที่อยู่ใน BCG Model ว่า ในส่วนของการเกษตรและอาหาร ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา มูลค่า GDP ของสาขาเกษตรเติบโตในอัตราติดลบ การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรทั้งระบบจะทำให้มีศักยภาพในการเพิ่ม GDP ของภาคเกษตรได้สูงขึ้นเป็น 1.7 ล้านล้านบาท โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยยกระดับสินค้าเกษตรสู่มาตรฐานสากล ในส่วนของผลิตภัณฑ์อาหารมีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่า GDP จาก 0.6 ล้านล้านบาท เป็น 0.9 ล้านล้านบาท

         ด้านสุขภาพและการแพทย์ หากประเทศไทยเร่งรัดการพัฒนาขีดความสามารถด้านการสร้างนวัตกรรมยา วัคซีน ยาชีววัตถุ อุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงการวิจัยทางคลินิคและการบริหารจัดการข้อมูลวิทยาศาสตร์การแพทย์รองรับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ เพื่อลดการนำเข้า ให้ความสำคัญกับนโยบายป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพด้านการแพทย์ มากกว่านโยบายด้านการรักษา มีการขยายบริการด้านสุขภาพไปสู่การให้บริการทางการแพทย์เฉพาะบุคคล ด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรม รวมถึงการสร้างแพล็ตฟอร์มการวิจัยทางคลินิกของประเทศประกอบการสอดประสานการทำงานกับฝ่ายกำกับดูแลของรัฐ ประเทศไทยจะสามารถเพิ่มมูลค่า GDP ในด้านนี้เป็น 90,000 ล้านบาท

Resize of 191128 0033  Resize of 191128 0034

          ด้านพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ มีมูลค่า GDP รวมกันประมาณ 9.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งจัดเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงจากนโยบายภาครัฐ และยังเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัฒนานวัตกรรมการผลิตพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถรองรับของเสียที่หลากหลายทั้งชนิดและคุณสมบัติ ของเสียเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปของแหล่งพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทน ในส่วนของวัสดุและเคมีชีวภาพมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดผลผลิตทางการเกษตรและของเสียไปเป็นสารประกอบ หรือผลิตภัณฑ์เคมีและวัสดุชีวภาพที่มีมูลค่าสูง อาทิ พลาสติกชีวภาพ  ไฟเบอร์ เภสัชภัณฑ์ ซึ่งด้วยแนวทางข้างต้นส่งผลให้กลุ่มพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่า GDP มากกว่า 2.6 แสนล้านบาท ด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในกลุ่มนี้ไทยมีศักยภาพในการเพิ่ม GDP ได้เป็น 1.4 ล้านล้านบาท ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการกระจายแหล่งท่องเที่ยวสู่เมืองรองโดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบดิจิทัล สินค้าและบริการซึ่งดำเนินการด้วยชุมชนท้องถิ่น เน้นตลาดคุณภาพ สร้างมาตรฐาน ความสะดวก สะอาด ปลอดภัย ร่วมกับการชูอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้บริหารจัดการและดูแลระบบนิเวศอย่างเป็นระบบ รวมถึงการพัฒนาสู่แบบแผนการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนด้วย การจัดทำ National Guideline ด้านขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยว จัดทำระบบบัญชีต้นทุนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวที่สำคัญ รวมถึงการปรับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว และการฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งเสื่อมโทรมทางธรรมชาติเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์  นอกจากนี้ยังเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีต่อการดำเนินธุรกิจ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ไทยต้องใช้โอกาสในการใช้องค์ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ เชื่อมโยงกับทุนทางปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม และความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมและร่วมมือกับภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ ในการสร้างนวัตกรรมดิจิทัลรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่จะส่งผลกระทบโดยตรงกับการท่องเที่ยวในอีก 5-10 ปีข้างหน้า

Resize of 191128 0038  Resize of 191128 0035

          “เศรษฐกิจ BCG มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่า GDP จากสัดส่วน 21% ของ GDP เป็น 24% ของ GDP หรือจากมูลค่า 3.4 ล้านล้านบาทเป็น 4.4 ล้านล้านบาทใน 5 ปี การเพิ่มมูลค่า GDP จำนวน 1 ล้านล้านบาท จำเป็นที่ประเทศต้องลงทุนเพิ่มเติมโดยให้มีความสอดคล้องกับมูลค่าเพิ่มของแต่ละสาขา อย่างไรก็ดี การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลให้เกิดศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าของทุกสาขาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-20 จากมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบเดิม ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2563  อว. ได้จัดสรรงบราว 4,000 ล้านบาท สำหรับการขับเคลื่อน BCG ตลอดจนกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องจำเป็นที่รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมโดยมุ่งเน้นในสาขาที่ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากและส่งผลกระทบในวงกว้าง นอกจากนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อน BCG รวดเร็วยิ่งขึ้น ใน 3 ปีแรกจึงได้กำหนดสัดส่วนประมาณการมูลค่าการลงทุนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG  ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนอยู่ที่ 30 : 70  หรือคิดเป็นการลงทุนจากภาครัฐ 15,000 ล้านบาท และเป็นการลงทุนจากภาคเอกชน 35,000 ล้านบาท และหลังจาก 3 ปี รัฐจะลงทุนในสัดส่วนที่ลดลง อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเศรษฐกิจ BCG  ที่ยั่งยืนนอกจากต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคมแล้ว จะต้องมีการส่งเสริมและปลูกฝังให้เกิดวัฒนธรรม BCG ให้เกิดขึ้นในประเทศ อาทิ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดของเสียเหลือทิ้ง การอนุรักษ์ธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อม” ดร.สุวิทย์ กล่าว

Resize of 191128 0041  Resize of 191128 0004

          อย่างไรก็ตาม กระทรวงได้วางโครงการริเริ่มสำคัญที่สร้างผลกระทบสูงเพื่อให้เกิด BCG Economy อย่างเป็นรูปธรรม โดยด้านการเกษตร จะดำเนินการพัฒนาแพลตฟอร์มสมาร์ทฟาร์มแห่งชาติ พร้อมกลไกสนับสนุนแก่วิสาหกิจหรือเกษตรกรที่ต้องการทดลองใช้เทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์ม เช่น การอุดหนุนทุนวิจัยให้แก่ผู้ประกอบการที่ต้องการถอดแบบเพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มขั้นสูงจากต่างประเทศ รวมถึงสิทธิประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรมผลิตหรือธุรกิจบริการสมาร์ทฟาร์มที่ลงทุนในประเทศ ให้คำปรึกษาแก่ชุมชน ลักษณะเดียวกับการให้คำปรึกษา SMEs ขยายผลการใช้ Agri-Map เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้าเกษตร ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต (yield) และประสิทธิภาพการผลิตโดยทำงานร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ เพื่อให้การผลิตสอดคล้องกับความต้องการตลาด รวมถึงพัฒนาศูนย์ทดสอบเครื่องจักรกลการเกษตรให้สามารถรับรองมาตรฐานสากล ด้านอาหาร จะริเริ่มสร้างตลาดกลางและตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าสำหรับสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของไทยที่เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มการผลิตและพัฒนามาตรฐานสินค้า ตลอดจนโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพและส่วนประกอบอาหารสุขภาพมูลค่าสูง ด้านสุขภาพการแพทย์ ริเริ่มการจัดตั้งหน่วยบริหารจัดการการวิจัยทางคลินิก (Clinical Research Organization: CRO) และการผลักดันให้เกิดศูนย์ทดสอบยาและเวชภัณฑ์ โครงการพัฒนายาชีววัตถุและระบบทดสอบผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อการขึ้นทะเบียน การค้นหาตัวยาจากสารสกัดธรรมชาติ สมุนไพรไทย โดยใช้เทคโนโลยีตรวจคัดกรองสารออกฤทธิ์พร้อมกันในปริมาณมาก (High-throughput Screening) และการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมสารสกัดสมุนไพรเพื่อผลิตเครื่องสำอาง/เวชสำอางอย่างครบวงจร ด้านพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ มีโครงการบริหารจัดการชีวมวลและขยะชุมชนเพื่อพลังงานและลดการเผาวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร สร้างศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพเพื่อลดระยะทางขนส่ง และนำวัตถุดิบทางการเกษตรมาเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น ริเริ่มโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เพื่อทดแทนพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง และโครงการบริการโรงงานต้นแบบและวิจัยร่วมภาคอุตสาหกรรม ด้านท่องเที่ยวบริการและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีโครงการสำคัญที่จะริเริ่มการพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นเพื่อสามารถบริหารการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การสร้างเนื้อหาข้อมูล และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น การพัฒนาระบบบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวด้วยสารสนเทศชุมชน (DMS/DMO) รวมถึงการพัฒนา National Guideline ของการประเมินความสามารถในการรองรับของพื้นที่ (Carrying Capacity) ด้านดิจิทัลเทคโนโลยี มีโครงการขยายผลการใช้ Agri-Map เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต (yield) และประสิทธิภาพการผลิตโดยทำงานร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) และครอบคลุมสินค้าเกษตรให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้การผลิตสอดคล้องกับความต้องการตลาด เป็นแพลตฟอร์มเกษตร/อาหารแห่งชาติ บูรณาการข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูลน้ำ และอื่นๆ เชื่อมโยงข้อมูล BCG 5 ภูมิภาค (เหนือบน เหนือล่าง อีสาน ตะวันออก และภาคใต้) รวมถึงรองรับการทำ food traceability ริเริ่มโครงการ National BCG Data Platform สำหรับบูรณาการข้อมูลทั้ง 4 กลุ่ม 5 ภูมิภาคและเทคโนโลยีฐาน (เศรษฐกิจหมุนเวียน) เข้าด้วยกัน และแพลตฟอร์มทางด้านสุขภาพการแพทย์สำหรับประชากรตลอดช่วงชีวิต ส่วนด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน กระทรวงจะยกระดับโครงการต้นแบบเพื่อเป็น Thailand Circular Hub โดยมีการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน ในพื้นที่บางกะเจ้า จ.สมุทรปราการ และพื้นที่บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนการลงทุนระบบจัดการและระบบแยกขยะแบบครบวงจรด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ และเกิดการใช้ผลิตภัณฑ์บนฐานเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างแพร่หลาย โดย 34 องค์กรรัฐ-เอกชน-ท้องถิ่น-NGOs พร้อมร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงาน ตลอดจนมีการจัดตั้งศูนย์จัดการขยะมูลฝอยชุมชนด้วยเทคโนโลยีการแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิง ในรูปแบบประสานพลังประชารัฐขับเคลื่อนนวัตกรรมไทย

          BCG Model ถือเป็นนโยบายชูธงในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย และเป็นหมัดเด็ดในการนำประเทศฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่การจะก้าวไปสู่เป้าหมายที่กำหนดต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งพลังความคิดและการลงมือปฏิบัติ การประชุม "BCG in Action - จัดทัพขับเคลื่อน BCG" ในครั้งนี้ จึงเป็นเวทีสำคัญที่จะบูรณะประเทศด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย BCG

----------------------------------------

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

โทรศัพท์ 081-7536119 (แพรประพันธ์) 02160 5432 ต่อ 730 มือถือ 08-0441-5450 (วรรณพร)

Email: pr@nxpo.or.th / Website: www.nxpo.or.th / Facebook: https://www.facebook.com/NXPOTHAILAND

  • วว. วิจัยพัฒนาเครื่องจักรแปรรู ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    วว. วิจัยพัฒนาเครื่องจักรแปรรูปกล้วยตากระดับ SMEs เพิ่มศักยภาพการผลิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก  
    11 เม.ย. 2566
    "เอนก" นำทีมถก รมว.แรงงานและอา ...
    ข่าวรัฐมนตรี
    "เอนก" นำทีมถก รมว.แรงงานและอาชีวศึกษาของกัมพูชา ยกระดับความร่วมมือพัฒนาทักษะวิชาชีพชั้นสูง พร้อมหนุ...
    08 ส.ค. 2565
    “ศุภมาส” ประกาศพร้อมกำกับดูแลค ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    “ศุภมาส” ประกาศพร้อมกำกับดูแลความปลอดภัย หากไทยใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในอนาคต
    23 ก.พ. 2567
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

“อว. Job Fair 2025” ปิดฉากอย่า ...
ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
“อว. Job Fair 2025” ปิดฉากอย่างคึกคัก วันที่สามคนแน่นงาน กระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานทั่วประเทศ
11 พ.ค. 2568
“สุชาดา” เลขาฯ รมว.อว. ร่วมพิธ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“สุชาดา” เลขาฯ รมว.อว. ร่วมพิธีวางพานพุ่มอนุสาวรีย์ ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ และพิธีมอบโล่รางวัล-ทุน ในงาน...
11 พ.ค. 2568
“ศุภมาส” เดินเกมรุกจัดงาน “อว. ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เดินเกมรุกจัดงาน “อว. Job Fair 2025” ยิ่งใหญ่กลางกรุง ตลาดอาชีพเพื่ออนาคต ชูเป้าหมายเปลี่ยน...
10 พ.ค. 2568

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • หน้าหลัก
    • แนะนำหน่วยงาน
      • ความเป็นมา
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
      • ผู้บริหารกระทรวง
      • การแบ่งส่วนราชการ
      • ลิงก์หน่วยงาน
      • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • โครงการกระทรวง
    • ทุนกระทรวง
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • บริการ
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • ข่าวและประกาศ
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • คลังข้อมูล
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • อินโฟกราฟิก
      • วีดิทัศน์
      • โมไบล์แอปพลิเคชัน
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • ค้นหา
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • ติดต่อกระทรวง
    • แผนผังเว็บไซต์
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.