กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • คลังข้อมูล
  • Infographic/Quote

“ถอดบทเรียนการต่อสู้ ...

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
27 Dec 2022

321106547 823776005378188 3478380351566714406 n

“ถอดบทเรียนการต่อสู้กับโควิด-19”
ภารกิจที่ 11 ไอทีและเอไอเพื่อการบริหารจัดการบริหารจัดการสถานการณ์ด้วยข้อมูลที่เชื่อมถึงกัน

     ‘GISTDA COVID-19 iMAP’ ที่พัฒนาขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่มาช่วยสนับสนุนข้อมูลสำหรับบริหารสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดย ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการของ GISTDA เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำงานว่า ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การใช้ระบบที่พัฒนาขึ้นในการตีกรอบพื้นที่ด้วยการใช้ข้อมูลจากแผนที่ตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ หรือ Bubble and Seal ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่คุ้มค่าต่อการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในช่วงเริ่มต้น “เราบูรณาการข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจากสื่อต่าง ๆ นำมารวบรวม จัดแบ่ง และจำแนกเป็นกลุ่มตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงพื้นที่ในการบริหารสถานการณ์การระบาดของโควิด-19”

    เมื่อพลังของคนและเทคโนโลยีมารวมกัน นี่จึงเป็นบทเรียนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ที่ประเทศไทยนำ ‘ข้อมูล’ มาใช้สนับสนุนการตัดสินใจบริหารสถานการณ์ ทั้งยังเกิดการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานซึ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นำไปสู่การออกมาตรการต่าง ๆ “ถ้าพูดถึงการต่อยอด ณ วันนี้ เราได้ร่วมมือกับทั้งกระทรวง อว. และกระทรวงอุตสาหกรรม ในการเตรียมความพร้อมและสามารถใช้ระบบนี้ ในกรณีที่เกิดโรคอุบัติใหม่ในอนาคต เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที”

    “ผมว่าประเทศไทยต้องขับเคลื่อนการบริหารสถานการณ์และลดผลกระทบอันรุนแรงด้วยข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคระบาด อุทกภัย เหตุการณ์ระเบิด หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ตามที่เรียกว่าฉุกเฉิน หากเราทำงานภายใต้ข้อมูลที่มีการอัปเดตอย่างสม่ำเสมอ ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลอื่น ๆ ที่บูรณาการระหว่างหน่วยงาน และมีการเตรียมพร้อมวิธีการรับมือไว้ล่วงหน้า มีระบบพร้อมใช้ มีการฝึกซ้อม ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรก็ตาม ภาครัฐจะบริหารสถานการณ์ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างแน่นอน”

     ถ้าจะพูดถึงระบบให้บริการทางการแพทย์ที่คาดว่าจะเป็นเทรนด์ของโลกหลังโควิด-19 คงหนีไม่พ้น ‘ระบบบริการทางการแพทย์ทางไกล’ ซึ่งในส่วนของประเทศไทยเอง มีการพัฒนาระบบที่มีชื่อว่า A-MED Telehealth ซึ่งคุณวัชรากร หนูทอง นักวิจัยประจำทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ (HII) ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวถึงเจตจำนงของการผลิตระบบนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้ผ่านระบบที่ใช้งานง่ายที่สุด

    “ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ อว. ก็มีใจอยากเป็นส่วนร่วมในการฝ่าฟันวิกฤติ อยากให้นวัตกรรมของเราได้นำออกไปใช้จริงสักที เพราะจริง ๆ แล้วระบบที่เรียกกันว่า Telehealth หรือ Telemed เป็นระบบที่มีมานานแล้ว แต่ประเทศไทยยังไม่เคยมีโอกาสได้เอาออกมาใช้จริง วิกฤติครั้งนี้เลยสร้างโอกาสให้นวัตกรรมนี้ได้รับการยอมรับ ทั้งในมุมของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยที่รู้สึกสบายใจที่จะใช้ระบบของเรา แม้ไม่ได้พบปะกันตัวต่อตัว ซึ่งแน่นอนว่าระบบนี้ยังช่วยลดทรัพยากรที่จะสูญเสียไปกับการสร้างโรงพยาบาลใหม่ได้อีกมากมาย”

    โควิด-19 กลายเป็นประสบการณ์ใหม่ของทุกคน ซึ่งมีสิ่งหนึ่งที่คุณวัชรากร หนูทอง มองเห็นได้อย่างชัดเจนจากการระบาดใหญ่ครั้งนี้คือ ประเทศไทยไม่มีแผน B หรือแผน C มารองรับในกรณีที่แผน A ล้มเหลว อีกทั้งยังขาดแคลนระบบการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินที่จะเชื่อมโยงข้อมูลซึ่งกันและกัน รวมถึงระบบที่จะทำให้เกิดวอร์รูมได้อย่างทันท่วงที “ผมมองว่าถึงเวลาแล้ว ที่เราจะก้าวเข้าสู่ยุคที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับชาติ หรืออย่างน้อยมีเจ้าภาพในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างปลอดภัยและไม่ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เพราะในอดีต เรามีความอ่อนแอในด้านนี้มาก ส่งผลกระทบให้เกิดความผิดพลาด กินระยะเวลานานในการพัฒนา กลายเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อนกันไปหมด”

     ขณะที่การเรียนรู้และการเปิดรับองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในโลกยุคโควิด-19 ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปในมุมมองของ รศ.ดร.ดวงพรรณ กริชชาญชัย หัวหน้าศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ (LogHealth) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แต่การทำงานระหว่างหน่วยงานให้ประสานสอดรับกัน เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องยาก ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยที่ยังไม่เชื่อมโยงถึงกัน หรือการปรับตัวไปสู่การทำงานในรูปแบบใหม่ที่ไม่คุ้นเคยก็เป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายคน เพราะฉะนั้น ในภารกิจสร้างระบบโลจิสติกส์ในห้วงวิกฤติ จึงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจและการทำงานเป็นทีมสูงมาก ทั้งในมุมมองของคนทำงานในห่วงโซ่หรือในมุมมองของนักวิจัยก็ตาม

     “วันนี้เราทำงานกันในรูปแบบของโซ่อุปทานแบบผลัก หรือ Push Supply Chain คือมีอุปกรณ์ เวชภัณฑ์อยู่เท่าไรก็ส่งลงไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งหมด ถ้ามีวิกฤติขึ้นอีกในอนาคต สิ่งที่เราคิดต่อตามหลักการโลจิสติกส์และเป็นสิ่งที่ใฝ่ฝันให้เกิดขึ้นจริงมาก ๆ คือ มีการใช้อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ตามความเป็นจริงเท่าไร ต้องแจ้งข้อมูลกลับมา เพื่อการวางแผนจัดซื้อให้ตรงกับความต้องการใช้งานจริงมากที่สุด แต่ท้ายที่สุดก็ยังมีอุปสรรคอยู่ซึ่งเกี่ยวข้องกับอำนาจ ผู้ที่มีอำนาจถือครองการวางแผนมักจะได้เปรียบกว่าซึ่งส่งผลให้การทำงานไม่เป็นไปตามหลักการอย่างเต็มรูปแบบ”
—————————
สำหรับผู้ที่สนใจอ่านชุดหนังสือ ‘เพราะเธอเป็นลมหายใจ’ เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าและถอดบทเรียนการทำงานและความร่วมมือของชาว อว. เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวไทยให้ก้าวผ่านวิกฤติการณ์โรคระบาดโควิด-19 ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา สามารถคลิกอ่านได้ที่ https://bit.ly/MHESIagainstCOVID19

 

เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ด้วยของขวัญจากหลายหน่วยงานในสังกัดกระทรวง อว. ส่งมอบเป็นกิจกรรมที่มอบสิทธิพิเศษให้แก่ประชาชนทุกช่วงวัย “จากใจชาว อว.” ภารกิจที่ 11 ไอทีและเอไอเพื่อการบริหารจัดการ ผู้อยู่เบื้องหลังระบบไอทีและเอไอสู้วิกฤติโควิด-19

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.