กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • คลังข้อมูล
  • Infographic/Quote

“จากใจชาว อว.” ภารก ...

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
26 Dec 2022

321242812 526580709406619 7387202223078700798 n

“จากใจชาว อว.”
ภารกิจที่ 11 ไอทีและเอไอเพื่อการบริหารจัดการผู้อยู่เบื้องหลังระบบไอทีและเอไอสู้วิกฤติโควิด-19

     การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและปัญญาประดิษฐ์เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จนออกมาเป็นระบบอันชาญฉลาดที่ช่วยเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลและประมวลผลออกมาภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กว่าระบบต่าง ๆ จะใช้งานได้จริงบนหน้าจอสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือกว่าจะนำข้อมูลที่รวบรวมได้ไปกำหนดมาตรการหรือนโยบายได้ ต้องแลกมาด้วยความกดดันอันหนักอึ้งบนบ่าของนักวิจัยที่ต้องทำงานแข่งกับเวลาอันกระชั้นชิด เพื่อให้เกิดผลกระทบหรือความสูญเสียต่อประชาชนน้อยที่สุด

     หน้าถัดไปจึงเป็น 6 ความในใจจาก 6 ผู้บริหารและนักวิจัยของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง อว. ผู้มีบทบาทในการสนับสนุนและผลักดันนวัตกรรมไอทีและเอไอออกไปใช้งานในสถานการณ์จริง ซึ่งด้วยระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังมีข่าวคราวการแพร่ระบาด ทีมวิจัยได้สร้างระบบเทคโนโลยีขั้นสูงขึ้นมาได้ทันต่อความต้องการอย่างน่าเหลือเชื่อ ยิ่งไปกว่านั้นคือ ความภาคภูมิใจที่ผลงานของพวกเขาได้สร้างแรงกระเพื่อมอย่างมหาศาลต่อการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลในวันข้างหน้าอย่างแท้จริง
—————————

321048519 2958068761166886 47329911227324091 n

“แก้ไขปัญหาได้ตรงจุดด้วยข้อมูลและการบูรณาการ”

     ด้วยเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศและข้อมูลเชิงพื้นที่ต่าง ๆ ภายใต้การดูแลของ GISTDA รวมถึงหน่วยงานพันธมิตรต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกันมาอย่างยาวนาน เมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19 ขึ้น จึงสามารถทำงานร่วมกัน เชื่อมโยงข้อมูล บูรณาการและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้สนับสนุนการบริหารจัดการและประกอบการตัดสินใจในการรับมือกับโรคระบาดโควิด-19 ทั้งในภาพรวมระดับประเทศและในระดับพื้นที่

     “เราทำงานกับข้อมูลอยู่แล้ว ซึ่งในช่วงสถานการณ์โรคระบาด เราได้ประยุกต์และพัฒนาระบบที่เรียกว่า GISTDA iMap โดย i มาจากคำว่า information, innovation และ intelligence ทำการเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานและกระทรวงต่าง ๆ แล้วนำมาประสาน วิเคราะห์ และแสดงผล ตั้งแต่เรื่องการแพร่ระบาดของโรค จำนวนผู้ป่วย การกระจายของหน่วยงานการแพทย์ ไปจนถึงประเด็นด้านเศรษฐกิจ เช่น การขาดแคลนสินค้าอุปโภคและบริโภค รวมถึงการสร้างข้อมูลและฐานข้อมูล เพื่อสนับสนุนมาตรการ Bubble and Seal ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้วย”

     “GISTDA iMap เดิมเป็นระบบที่พัฒนาเพื่อใช้ในหน่วยงาน แต่ก็ปรับปรุงและขยายเพื่อให้รองรับการใช้งานระดับประเทศ เพื่อให้สามารถสนับสนุนการบริหารสถานการณ์ได้ดีขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทำให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจระหว่างหน่วยงาน มีการเชื่อมโยงข้อมูลซึ่งกันและกัน รวมถึงการที่ภาครัฐหันมาใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากขึ้น ทำให้แก้ไขสถานการณ์ได้อย่างตรงจุดและทันท่วงที แถมเรายังต่อยอดไปเรื่อย ๆ จนได้ข้อมูลภาพรวมของจังหวัดต่าง ๆ และเตรียมระบบให้พร้อมสำหรับการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต”

ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA
—————————

 

321247608 1601323303652056 7439439780950273079 n

“ต่อยอด AI เพื่อพัฒนาในทุกมิติ”

    ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เป็นเทคโนโลยีที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ รวมถึงประเทศไทยเองก็นำ AI มาใช้เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งหากจะย้อนไปในช่วงแรกของการระบาดที่เริ่มมีการรณรงค์ให้สวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ระบบปัญญาประดิษฐ์แรกสุดที่ได้จากงานวิจัยภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) คือ ‘AI Mask’ หรือระบบวิเคราะห์และรายงานการสวมใส่หน้ากากแบบ Real-Time ที่ติดตั้งอยู่ตามแหล่งที่มีผู้คนพลุกพล่านนั่นเอง

    “การใช้ประโยชน์จาก AI Mask เริ่มเบาบางลงไปหลังโควิดระบาดมาได้กว่า 2 ปี อย่างไรก็ตาม เรายังต่อยอดนวัตกรรมนี้ได้ เพื่อดูแลสุขภาวะของประชาชนในมิติอื่น ๆ พร้อมกับการนำ AI มาพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ด้านภาคเอกชนเองก็มีการใช้ประโยชน์ AI สำหรับการเอ็กซเรย์ปอดซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถประเมินอาการจากโรคได้ นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้ข้อมูลที่ AI เก็บมาเป็นจำนวนมาก เป็นฐานข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ด้วย”

    “ฐานข้อมูล AI ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และด้านสาธารณสุขมีความตื่นตัวอย่างมาก ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมการเชิงรุกและรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คนไทยเริ่มมีความชำนาญเรื่องเทคโนโลยีมากขึ้น โดยหลังจากโควิด-19 คลี่คลาย นอกจากการใช้งาน AI เพื่อสุขภาวะและทางการแพทย์แล้ว เรายังมุ่งหน้าใช้ AI เพื่อพัฒนาในมิติเชิงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบัน เราพยายามใช้ AI เพื่อสร้าง Metaverse ตามสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ”

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง
ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
—————————

321440092 476575837924053 1895471304135878999 n

“AI การ์ดไม่ตก”

   การนำเทคโนโลยี AI มาช่วยประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ถือได้ว่ามีความสำคัญต่อการบริหารจัดการของภาครัฐ ทั้งยังช่วยให้ประชาชนสามารถรับมือและปรับตัวต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งเทคโนโลยี AI เพื่อวิเคราะห์การใส่หน้ากากอนามัย หรือ AI Mask นับว่าเป็นอีกหนึ่งผลงานที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะสามารถช่วยติดตามและประเมินผลได้ว่าประชาชนในแต่ละพื้นที่สวมใส่หน้ากากอนามัยหรือไม่ และสวมใส่ถูกต้องหรือไม่ อีกทั้งยังทำการประมวลผลได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วแบบเรียลไทม์

    “ประชาชนจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมความรู้เรื่องการใส่หน้ากากอนามัย ซึ่งเราสามารถป้องกันไม่ให้คนติดโควิด-19 มากขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยี AI Mask ซึ่งใช้ข้อมูลจากกล้อง CCTV ตามจุดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อวัดจำนวนคนที่ใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงวิธีการใส่หน้ากากว่าถูกต้องหรือไม่ โดยข้อมูลสำคัญเหล่านี้สามารถนำไปประเมินความเสี่ยงของพื้นที่และประเมินภาพรวมความเข้มงวดในการป้องกันการแพร่ระบาดได้อีกด้วย”

    “การต่อยอดเทคโนโลยีสามารถทำได้หลากหลายแนวทางเพื่อรองรับสถานการณ์ในอนาคต เช่น การสำรวจประเภทของหน้ากากที่ประชาชนสวมใส่ เพราะ AI สามารถระบุได้ว่าคนส่วนใหญ่สวมใส่หน้ากากประเภทใด เป็นจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ เช่น หน้ากากทางการแพทย์ หน้ากากผ้า หรือหน้ากาก N-95 เป็นต้น หรือการนำ AI มาประเมินการสวมใส่หน้ากากในพื้นที่เฉพาะเจาะจง เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล โรงแรม สถานที่จัดงานต่าง ๆ หรือสถานที่ที่ต้องการจำกัดการระบาด เพื่อนำข้อมูลมาเตือนผู้ที่มาใช้บริการให้สวมใส่หน้ากากอนามัย”

ศ.ดร.ธนารักษ์ ธีระมั่นคง
อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร (ICT)
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
—————————

 

321333574 473363638211503 1526678738391338512 n

“รักษาทางไกลด้วย Virtual Hospital”

    ตั้งแต่พบปัญหาว่า ประเทศไทยยังขาดแคลนระบบบันทึกการรักษาและการเบิกจ่าย เมื่อจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อสูงขึ้นเรื่อย ๆ จะกลายเป็นภาพความโกลาหลของการควบคุมโรค จนในที่สุดจึงเกิดระบบที่มีชื่อว่า ‘A-MED Telehealth’ เพื่อใช้ในสถานที่กักตัวของรัฐและโรงพยาบาล โดยออกแบบด้วยแนวคิด Virtual Hospital สร้างสถานพยาบาลในเวลาอันรวดเร็ว รองรับคนเข้าสู่ระบบได้จำนวนมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้เร็วขึ้น โดยผู้ป่วยเข้ารับบริการทางการแพทย์ผ่านทางไกล

    “เราคือนักพัฒนาที่ไม่ได้เป็นคนใช้ แต่เราเชื่อว่าระบบของเราจะเป็นประโยชน์ จากความต้องการและเงื่อนไขที่หลากหลาย ทำให้เราพัฒนาระบบนี้ไปแล้วนับร้อยเวอร์ชั่น ในช่วงแรกเราได้รับเสียงสะท้อนค่อนข้างรุนแรงจากบุคลากรทางการแพทย์ว่า ระบบนี้จะไปเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของพวกเขา แต่เมื่อเริ่มใช้ไปจะพบว่าระบบของเราไม่ได้เป็นภาระ ในทางกลับกันยังทำงานเบ็ดเสร็จ จบในตัว เน้นให้ผู้ป่วยบริการตนเองได้ผ่านระบบที่ร่วมกับแอปพลิเคชัน LINE”

    “Telehealth เป็นระบบที่มีมานาน แต่ประเทศไทยไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้ วิกฤติครั้งนี้จึงถือเป็นโอกาสที่ทำให้นวัตกรรมตัวนี้เป็นที่ยอมรับ ความประทับใจในฐานะนักพัฒนาก็คือ ไม่ใช่แค่หมอในประเทศไทยเท่านั้นที่ใช้ระบบของเรา แต่ยังพบ IP ผู้ใช้จากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ที่ปรากฏว่าเป็นหมอคนไทยในต่างประเทศที่เข้ามาร่วมคุยกับผู้ป่วยในระบบของเรา ทำให้เห็นว่า AMED Telehealth คือ Tele จริง ๆ ที่ไม่ได้อยู่แค่ในประเทศไทยอีกต่อไป แต่คุณหมอสามารถเข้ามาให้บริการคนไข้ได้จากทั่วโลก”

คุณวัชรากร หนูทอง
นักวิจัยประจำทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ (HII)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
—————————

 

321282387 498958552099277 3797360932938401569 n

“สู้กับเวลาเพื่อกลุ่มเสี่ยง”

    ในช่วงเริ่มต้นของการระบาดที่ยังสามารถระบุผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงได้ ‘DDC Care’ นับเป็นแอปพลิเคชันแรก ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคโควิด-19 เพื่อตามติดกลุ่มเสี่ยงที่จำเป็นต้องกักตัวตลอด 14 วันเต็มจนกว่าจะมั่นใจว่าปลอดภัยโดยเฉพาะ กระบวนการเหล่านี้จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อลดภาระของเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค DDC Care จึงเป็นงานใหญ่ที่ระดมคนกันมาพัฒนาระบบ แข่งขันกับเวลาเพียงหนึ่งเดือนให้ทันกับการระบาดในช่วงแรก

    “ระบบนี้มีการพัฒนาอยู่หลายรอบตามการระบาดในระลอกต่าง ๆ นอกจากการกักตัวและการติดตามอาการกลุ่มเสี่ยงแล้ว ยังมีการเสริมระบบให้รองรับการติดตามต่อเนื่องที่ใช้กับคนขับรถบรรทุกการขนส่งสินค้าข้ามประเทศ รวมถึงบันทึกการเดินทางของพนักงานโรงงานที่กักตัวแบบ Bubble and Seal เพื่อให้ทุกอย่างยังเดินหน้าต่อได้ผ่านการรายงานบนระบบ ซึ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่สอบสวนโรคได้อย่างทันท่วงที โดยจะเห็นได้ว่าแอปฯ นี้ ออกแบบมาให้ตอบสนองกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว”

    “ด้วยความต้องการที่เร่งด่วนในช่วงหนึ่งเดือนแรก เราใช้ทรัพยากรและทีมงานทั้งหมดที่มีมารุมพัฒนาแอปพลิเคชัน DDC Care ขึ้นด้วยระยะเวลาเพียงหนึ่งเดือน ซึ่งนับเป็นอะไรที่ยากมาก แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงการระบาดที่ทุกคนอยู่ในความเสี่ยงเท่า ๆ กัน มีการกักตัวที่บ้าน คนเริ่มฉีดวัคซีน DDC Care จึงไม่จำเป็นอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม มีคนใช้และได้รับประโยชน์จากแอปฯ DDC Care กว่า 58,127 คน ตลอดอายุการใช้งาน 1 ปี ซึ่งกลายเป็นกำลังใจให้กับผู้พัฒนาเป็นอย่างมาก”

ดร.ณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล
นักวิจัยอาวุโส ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
—————————

 

321134889 653024703198697 6854946858436426164 n

“ขนส่งความห่วงใยไปทั่วประเทศ”

   บุคลากรการแพทย์นับเป็นด่านหน้าที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับโรคโควิด-19 แต่ทว่าพวกเขาเหล่านั้นกลับไม่ได้ต่อสู้อย่างเดียวดาย เพราะยังมีคนทำงานเบื้องหลังอีกจำนวนมากที่เป็นกองหนุนคอยช่วยเหลือ ทั้งในด้านสรรพกำลัง นวัตกรรม เทคโนโลยี รวมถึงองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งงานโลจิสติกส์ก็ถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่ขาดไปไม่ได้ในการสนับสนุนภารกิจครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วง เพราะไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เวชภัณฑ์หรือวัคซีน ต่างจำเป็นที่จะต้องพึ่งการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ

   “เรามีโครงการที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 อยู่ 2 โครงการ โดยเริ่มจากช่วงที่เวชภัณฑ์ที่จำเป็นต่าง ๆ ขาดแคลนและมีราคาสูง ทั้งชุด PPE หน้ากากอนามัย และถุงมือยาง เราจึงวิเคราะห์ปัญหาจนได้เป็นไอเดียจัดตั้งศูนย์กลางในการเก็บเวชภัณฑ์ขึ้นมาแล้วค่อยแจกจ่ายออกไปให้เท่ากับตามความต้องการของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งทำให้แต่ละโรงพยาบาลได้รับสิ่งของที่พอดีกับความต้องการ ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป พร้อมสร้างระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ทั้งหมดและบริหารจัดการขนส่งไปยังโรงพยาบาลด้วย เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ”

   “เมื่อมีการนำเข้าวัคซีนเข้ามาจึงเป็นครั้งแรกที่เราได้บูรณาการองค์ความรู้เกี่ยวกับการขนส่งแบบลูกโซ่ความเย็น (Cold Chain) ที่ต้องรักษาอุณหภูมิตลอดการขนส่ง ไปพร้อม ๆ กับการตรวจสอบแบบย้อนกลับ (Traceability) ผ่านการบันทึกข้อมูลทั้งหมดตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางเชื่อมโยงกับแอปฯ หมอพร้อม ซึ่งนับตั้งแต่ภารกิจแรก เรามองว่าได้ผลลัพธ์ที่ดีมาก เพราะเมื่อเราสามารถจับคู่ความต้องการใช้กับปริมาณของต่าง ๆ ที่มีได้โดยไม่มีของเหลือทิ้งก็จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย”

รศ.ดร.ดวงพรรณ กริชชาญชัย
หัวหน้าศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ (LogHealth)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
—————————

สำหรับผู้ที่สนใจอ่านชุดหนังสือ ‘เพราะเธอเป็นลมหายใจ’ เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าและถอดบทเรียนการทำงานและความร่วมมือของชาว อว. เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวไทยให้ก้าวผ่านวิกฤติการณ์โรคระบาดโควิด-19 ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา สามารถคลิกอ่านได้ที่ https://bit.ly/MHESIagainstCOVID19

 

เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

“ถอดบทเรียนการต่อสู้กับโควิด-19” ภารกิจที่ 11 ไอทีและเอไอเพื่อการบริหารจัดการ บริหารจัดการสถานการณ์ด้วยข้อมูลที่เชื่อมถึงกัน สรุปประเด็นสำคัญจาก ปาฐกถาเรื่อง “นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและสังคม : โอกาสและความหวังอนาคตของประเทศไทย” ในงาน “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15”

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.