1. Becquerel, Henri ; Becquerel, Antoine Henri ปี ค.ศ. 1852-1908, ฝรั่งเศส
- ผู้ค้นพบกัมมันตรังสี
นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศษผู้ได้ศึกษาการเรืองแสงอย่างช้า หรือ phosphorescence ในเกลือยูเรเนียม และได้ทำการค้นพบ “กัมมันตรังสี” เข้าโดยบังเอิญ โดยการวางโพแทสเซียมยูเรนิลซัลเฟต ไว้บนฟิล์มถ่ายรูปและวัสดุดำ จากนั้นนำไปตั้งไว้กลางแดด แล้วเอาฟิล์มนั้นมาล้างจะพบว่ามีลายหมอก เป็นสีดำบนภาพเนกะทีฟ เมื่อใดที่เอาวัตถุอื่นใดปกปิดสารนั้น แล้วทดลอง ก็ปรากฏรูปวัตถุนั้น ๆ บนฟิล์ม จึงสรุปได้ว่า สารนั้นมีกัมมันตรังสีจริง
2. Curie Marie ปี ค.ศ. 1867-1934, ฝรั่งเศส
- ผู้ค้นพบธาตุกัมมันตรังสี 2 ชนิด ได้แก่ พอโลเนียม และเรเดียม (ร่วมกับ มารี กูรี) และทฤษฎีของสารพาราแมทเนติก นักฟิสิกส์และเคมีผู้บุกเบิกงานวิจัยด้านกัมมันตภาพรังสีและเป็นผู้ค้นพบธาตุเรเดียมที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รางวัลโนเบล และยังเป็นผู้หญิงเพียงคนเดียว ที่ได้ รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้ง เธอเป็นผู้ค้นพบธาตุกัมมันตรังสีทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ พอโลเนียม และเรเดียมรวมถึงทฤษฎีของสารพาราแมทเนติก และยังเป็นผู้เตรียม “สารเรเดียมมาตรฐานระหว่างประเทศ” และยังมีส่วนตั้งหน่วย “คูรี” (Curie) ขึ้นมาอีกด้วย
3. Rutherford, Ernest ปี ค.ศ. 1871-1937, อังกฤษ
- ผู้ใช้หลอดบรรจุด้วยแก๊สสำหรับตรวจวัดรังสีแอลฟา และพัฒนาเครื่องนับอนุภาคบีตา(ร่วมกับฮันส์ ไกเกอร์)
รัทเธอร์ฟอร์ดได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับรังสีที่เกิดจากจากธาตุยูเรเนียม ซึ่งในปี ค.ศ.1898 เขาได้ทำการค้นพบรังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุยูเรเนียม 2 ชนิด คือรังสีคลื่นยาวที่ให้พลังงานต่ำ
เรียกว่า “รังสีเบตา” และรังสีคลื่นสั้นที่ให้พลังงานสูง เรียกว่า “รังสีแอลฟ่า” ซึ่งรัทเธอร์ฟอร์ดได้ใช้หลอดบรรจุด้วยแก๊สสำหรับตรวจวัดรังสีแอลฟา และพัฒนาเครื่องนับอนุภาคบีตาร่วมกับฮันส์
ไกเกอร์ นั่นเอง
4. Grubbe, Emile ปี ค.ศ. 1875-1960, อเมริกัน
- ศึกษาหลอดปล่อยประจุแคโทด (cathode discharge tube) เกิดผิวหนังไหม้ที่มือทั้งสองข้าง
ก่อนที่รังสีเอกซ์จะถูกค้นพบ และทราบภายหลังว่าเกิดจากรังสีเอกซ์
- ชาวอเมริกันคนแรกที่ใช้รังสีเอกซ์ในการรักษาทางการแพทย์ และเป็นคนแรกที่ใช้ ตะกั่ว เพื่อป้องกันรังสีเอกซ์
เอมิล กรูเบ ชาวอเมริกันคนแรกที่ใช้รังสีเอกซ์ในการรักษาทางการแพทย์ และเป็นคนแรกที่ใช้ตะกั่ว เพื่อป้องกันรังสีเอกซ์ เนื่องจากเขาได้ทำการศึกษาหลอดปล่อยประจุแคโทด (cathode discharge tube) จนเกิดผิวหนังไหม้ที่มือทั้งสองข้างก่อนที่รังสีเอกซ์จะถูกค้นพบและทราบภายหลังว่า เกิดจากรังสีเอกซ์ ซึ่งเขาได้ทดลองด้วยการดูภาพรังสีเอกซ์บนมือของตัวเองที่ปรากฎบนฉากเรืองแสง และหลังจากนั้นเขาเกิดอาการเจ็บป่วยจากอาการผิวหนังอักเสบเนื่องจากได้รับรังสีที่มืออยู่เป็นประจำ และเขาจึงได้ถูกรักษาด้วยรังสีเอกซ์เป็นครั้งแรกอีกด้วย
5. Greinacher, Heinrich ปี ค.ศ. 1880-1974, สวิส
- ผู้คิดวิธีขยายสัญญาณที่อนุภาครังสีทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออน
ผู้คิดวิธีขยายสัญญาณที่อนุภาครังสีทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออน โดยเาได้พัฒนาแมกนีตรอน และทำการประดิษฐ์วงจรเรียงกระแสสำหรับการเพิ่มแรงดันไฟฟ้าขึ้นเป็นสองเท่า โดยสรุปแนวคิดนี้ได้ว่าเป็นตัวที่ใช้คุณแรงดันไฟฟ้าแบบเรียงซ้อนและพัฒนาวิธีการตรวจจับอนุภาคที่มีประจุได้อีกด้วย
6. Cerenkov, Pavel ค.ศ. 1904 , โซเวียต
- การแผ่รังสีเซเรนโกฟ (Cherenkov radiation)
นักวิทยาศศาสตร์ชาวรัสเซียผู้ค้นพบปรากฎการณ์ที่สามารถอธิบายการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เมื่อมีการเคลื่อนที่ในน้ำด้วยความเร็วที่มากกว่าความเร็วของแสงในน้ำ
เมื่อกรวยแสงมาถึงผนังเครื่องตรวจหาจะปรากฏลักษณะเป็นวง ๆ ลักษณะคล้ายกับกรวยของการเกิดคลื่นกระแทกของคลื่นเสียง ซึ่งเรียกว่า การแผ่รังสีเซเรนโกฟ นั้นเอง และจากการค้นพบครั้งนี้ทำให้เชเรนคอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2501อีกด้วย
7. Frisch, Otto ปี ค.ศ. 1904-1979, ออสเตรีย-อังกฤษ
- ประดิษฐ์ ห้องก่อไอออนฟริชกริด (Frisch grid ionization chamber) ใช้วัดสเปกตรัมของรังสีแอลฟา พัฒนาเป็น เครื่องนับรังสีแบบสัดส่วน (proportional counter)
นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษที่เกิดในออสเตเรียและทำงานเกี่ยวกับฟิสิกส์นิวเคลียร์ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาคำอธิบาย เชิงทฤษฎีแรกของนิวเคลียร์ฟิชชั่น และได้ทำการตรวจพบผลพลอยได้จากฟิชชั่นเป็นครั้งแรก ซึ่งเขาเป็นผู้ประดิษฐ์ ห้องก่อไอออนฟริชกริด (Frisch grid ionization chamber) ที่ใช้วัดสเปกตรัมของรังสีแอลฟา และทำการพัฒนาเป็นเครื่องนับรังสีแบบสัดส่วนอีกด้วย
นอกจาก 7 ปรมาจารย์ด้านรังสีที่เราได้เปิด timeline ให้ดูกันแล้วนั้น ยังมีนักวิทยาศาสตร์ผู้ทำการ ศึกษาทั้งในด้านรังสีและนิวเคลียร์อีกมากมาย ที่เราสามารถนำผลการวิจัยของพวกเขามาต่อยอด และใช้ประโยชน์ได้ในปัจจุบัน
ผู้ที่สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้ที่ www.tint.or.th
ที่มา : สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.