กากกัมมันตรังสี มาจากไหน เมื่อเลิกใช้ ใครต้องจัดการ ?
อย่างที่เรารู้กันดีอยู่แล้วว่าเทคโนโลยีนิวเคลียร์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมายหลากหลายด้าน ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เกิดจากการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ก็คือ “กากกัมมันตรังสี”
กากกัมมันตรังสี คือวัตถุในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นวัสดุกัมมันตรังสี หรือมีกัมมันตรังสีปนเปื้อนอยู่ ที่มีค่ากัมมันตภาพต่อปริมาตรหรือกัมมันตภาพรวมสูงกว่าเกณฑ์ปลอดภัย โดยกากกัมมันตรังสีต้องได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้กัมมันตรังสีเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม
ในประเทศไทยมีกากกัมตรังสีจากการใช้ประโยชน์ ด้านการแพทย์ประมาณ 13% ด้านการศึกษาและวิจัย 30% ภาคอุตสาหกรรม 40% และจากภาคการผลิตและอื่นๆ 17% ซึ่งในการจัดการกากกัมมันตรังสีจะเริ่มจากการเก็บรวบรวม แยกประเภท และนำไปเข้าสู่กระบวนการบำบัดและแปลสภาพเพื่อลดค่ากัมมันตรังสีลง ก่อนจะนำไปเข้ากระบวนการเก็บรักษาที่อาคารจัดเก็บกากกัมมันตรังสีที่ 3 ของสทน.ที่ จ.ปทุมธานี และอาคารจัดเก็บกากกัมมันตรังสีที่ 4 ของสทน.ที่ จ.นครนายก เพื่อให้กัมมันตรังสีสลายตัวจนอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยต่อไป
ปัจจุบันสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) โดยศูนย์จัดการกากกัมมันตรังสี มีงานบริการหลักคือ งานบริการจัดการกากกัมมันตรังสีและวิเคราะห์ค่ากัมมันตภาพรังสี ทั้งงานบริการขนส่งกากกัมมันตรังสี, งานบริการรื้อถอนกากต้นกำเนิดรังสี รวมทั้งงานบริการตรวจวัดการเปื้อนสารกัมมันตรังสีบนพื้นผิว นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการจัดการกากกัมมันตรังสี, การให้คำปรึกษาด้านการจัดการกากกัมมันตรังสี และยังส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการจัดการกากกัมมันตรังสีอีกด้วย
เพื่อให้คนไทยได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์อย่างสบายใจ และผลกระทบของกัมมันตรังสีอย่างน้อยที่สุด
ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพิ่มเติม คลิก www.tint.or.th
ที่มา : สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์เเห่งชาติ (สทน.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.