กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • ค้นหา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • ติดต่อกระทรวง
  • แผนผังเว็บไซต์
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • หน้าแรก
  • คลังข้อมูล
  • รายการเอกสารสิ่งพิมพ์

โครงการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวทนดินเค็มของจีน

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
17 ม.ค. 2563

image 1579252619

(photo: xinhua)

1. ความคืบหน้าการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวทนดินเค็มของจีน

การวิจัยข้าวทนดินเค็มของจีนเริ่มต้นขึ้นในปี 2529 เมื่อนาย Chen Risheng นักวิทยาศาสตร์จาก Zhanjiang Agriculture College ค้นพบข้าวที่สามารถเจริญเติบโตได้ในดินเค็มด่าง (Saline-alkaline Soil) ในพื้นที่ป่าโกงกาง เมือง Zhanjiang มณฑล Guangdong จึงได้ทำการเก็บเมล็ดพันธุ์จำนวน 522 เมล็ดเพื่อวิจัยและคัดสรรพันธุ์ข้าว 10 สายพันธุ์ และตั้งชื่อว่า “ข้าวทนดินเค็ม 86 (Sea-rice 86)” ตามปีที่ค้นพบ (ค.ศ. 1986) จากการทดลองปลูกพบว่าพันธุ์ข้าวดังกล่าวให้ผลผลิตประมาณ 360 กิโลกรัมต่อไร่ มีข้อดีด้านความทนทานต่อโรคและแมลง ลดการใช้สารเคมี รวมถึงช่วยปรับปรุงคุณภาพดินหลังจากการปลูก 3-5 ปี ลดความเค็มและความด่างของดินจนสามารถเพาะปลูกพืชทั่วไปได้ อย่างไรก็ดี เนื่องจากข้าวทนดินเค็มสายพันธุ์ดังกล่าวให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ ต้นทุนการผลิตยังสูงมากหากเทียบกับข้าวทั่วไป จึงมีการนำพันธุ์ข้าวทนดินเค็มมาวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนาย Yuan Longping นักวิทยาศาสตร์ชาวจีน เป็นผู้ต่อยอดการวิจัยด้วยการผสมพันธุ์ข้าวข้ามสายพันธุ์ เพื่อคัดสรรพันธุ์ข้าวทนดินเค็มที่สามารถให้ผลผลิตสูง ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นหนึ่งในผลงานสำคัญทางวิทยาศาสตร์ของจีนในปี 2560 จนได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งข้าวพันธุ์ผสมของจีน”

ประเทศจีนมีพื้นที่ดินเค็มด่างขนาดใหญ่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งรวม 17 มณฑล รัฐบาลจีนเล็งเห็นความสำคัญของการวิจัยข้าวทนดินเค็มในการเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจด้านการรักษาความมั่นคงทางอาหารของจีนในอนาคต จึงได้จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวทนดินเค็ม (Saline-Alkali Tolerant Rice Research and Development Center) ขึ้นในเดือนตุลาคม ปี 2559 ณ เมืองชิงเต่า มณฑลซานตง เพื่อวิจัยพันธุ์ข้าวทนดินเค็มที่มีความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศและดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ที่จะสามารถส่งเสริมให้เกิดการเพาะปลูกเชิงพาณิชย์ เพื่อแก้ไขปัญหาการลดลงของพื้นที่เพาะปลูกข้าวและพื้นที่กักเก็บน้ำของระบบชลประทานในประเทศ

เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2562 สำนักข่าว China Daily ได้รายงานสถานการณ์ความคืบหน้าการทดลองปลูกข้าวทนดินเค็มของศูนย์วิจัยฯ ด้วยเมล็ดพันธุ์ใหม่กว่า 300 สายพันธุ์ บนพื้นที่ทดลองปลูกขนาด 670 เฮกเตอร์ (4,187.5 ไร่) และคาดการณ์ว่าภายในปี 2562 จะขยายพื้นที่ทดลองปลูกข้าวทนดินเค็มออกไปรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,300 เฮกเตอร์ (8,125 ไร่) ในมณฑลเฮยหลงเจียง มณฑลซานตง มณฑลซานซี และเขตปกครองตนเองซินเจียง ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยฯ ได้กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพว่าจะต้องให้ผลผลิตมากกว่า 720 กิโลกรัมต่อไร่ จึงจะผ่านการคัดเลือกเป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่ โดยนาย Zhang Guodong รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ กล่าวว่า มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตข้าว โดยเฉพาะผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเพาะพันธุ์เมล็ดข้าว ทั้งนี้ ปริมาณผลผลิตในแต่ละพื้นที่ยังมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก เช่น ในพื้นที่ทดลองปลูกของเมืองชิงเต่า มณฑลซานตง ให้ผลผลิตสูงถึง 1,600 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่พื้นที่ทดลองปลูกของเมืองต้าชิ่ง มณฑลเฮยหลงเจียง ให้ผลผลิตเพียง 496 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยฯ กำหนดเป้าหมายส่งเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผ่านการคัดเลือกกลุ่มแรกจำนวน 7 สายพันธุ์ไปยังกระทรวงเกษตรและกิจการชนบท (Ministry of Agricultural and Rural Affairs) ภายในปี 2562 เพื่อทำการตรวจสอบ หากได้รับการรับรองจากกระทรวงเกษตรฯ เมล็ดพันธุ์ข้าวดังกล่าวจะได้รับการขึ้นทะเบียนและส่งเสริมให้เป็นพันธุ์ข้าวที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ทั่วประเทศ ซึ่งศูนย์วิจัยฯ ตั้งเป้าหมายให้มีการเพาะปลูกเชิงพาณิชย์ทั่วประเทศบนพื้นที่ดินเค็มขนาด 667,000 เฮกเตอร์ หรือประมาณ 4,168,750 ไร่ ในระยะเวลา 5-8 ปีข้างหน้า

2. การใช้เทคโนโลยีพัฒนาการปลูกข้าวทนดินเค็ม

เนื่องจากพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นดินเค็มและมีสภาพเป็นด่าง มักจะเป็นพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีผู้คนอาศัยอยู่และแห้งแล้ง พื้นที่เหล่านี้จึงเป็นบริเวณที่ขาดแคลนทรัพยากรทั้งแรงงานและน้ำ การทดลองปลูกข้าวทนดินเค็มในพื้นที่นำร่องจึงสามารถใช้เป็นกรณีศึกษาสำหรับการทดลองนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการใช้ทรัพยากรแรงงาน น้ำ ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง ศูนย์วิจัยฯ ได้ร่วมมือกับบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ Huawei ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น Big Data, Cloud Computing และ Internet of Things มาใช้ในโครงการทดลองปลูกข้าวทนดินเค็ม เพื่อจัดเก็บข้อมูล ติดตามและรายงานสภาพความเค็มของดิน การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม รวมถึงเตือนภัยการแพร่ระบาดของโรคและกระจายตัวของศัตรูพืช พัฒนาการทดลองปลูกข้าวทนดินเค็มให้เป็นการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) และเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาจากการเพาะปลูก ระบบดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในพื้นที่ทดลองปลูกในมณฑลซานตงในเดือนพฤศจิกายน 2561 และจะนำไปทดสอบใช้ในพื้นที่ทดลองปลูกอื่นๆ ในอนาคตต่อไป

3. การขยายความร่วมมือกับนานาประเทศ

เมื่อเดือนมกราคม ปี 2561 ศูนย์วิจัยฯ ได้ร่วมมือกับ The Private Office of Sheikh Saeed Bin Ahmed Al Maktoum ซึ่งเป็นหน่วยงานของราชวงศ์ในเมืองดูไบ ทำการทดลองปลูกข้าวทนดินเค็มสิบกว่าสายพันธุ์บนพื้นที่ทะเลทรายของดูไบที่สภาพอากาศค่อนข้างรุนแรง ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนสูงถึง 30 องศา มีพายุทะเลทราย อีกทั้งดินทรายที่ขาดแร่ธาตุและสารอินทรีย์ ซึ่งภายหลังการเพาะปลูก 5 เดือน มีผลผลิตออกมาสูงถึง 960 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งสองหน่วยงานได้ตั้งเป้าหมายการขยายพื้นที่ทดลองเพาะปลูกเป็นขนาด 625 ไร่ในปี 2562 และเพิ่มปริมาณการเพาะปลูกให้สูงขึ้นในปี 2563

นอกจากนี้ ทางศูนย์วิจัยฯ มีแผนการด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการจัดตั้งศูนย์วิจัยและส่งเสริมฯ ในทวีปแอฟริกา และภูมิภาคตะวันออกกลางในอนาคตอันใกล้ โดยมีหลายประเทศ อาทิ กาน่า ไนจีเรีย และปากีสถาน แสดงความสนใจในการเข้าร่วมโครงการ

image 1579152572

(photo: xinhua)

บทวิเคราะห์ / ข้อคิดเห็น

นักวิทยาศาสตร์จีนได้ทำการวิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าวทนดินเค็มมาเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี โดยปัจจุบันมีศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวทนดินเค็ม ณ เมืองชิงเต่า มณฑลซานตง เป็นหน่วยงานหลักในการวิจัยและสร้างพันธุ์ข้าวทนดินเค็มผสมที่มีความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศและดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ โดยภายในปี 2562 ศูนย์วิจัยฯ ตั้งเป้าหมายส่งพันธุ์ข้าวผสมจำนวน 7 สายพันธุ์ให้กระทรวงเกษตรและกิจการชนบทจีนตรวจสอบและขึ้นทะเบียนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเพาะปลูกเชิงพาณิชย์ทั่วประเทศบนพื้นที่ดินเค็มขนาด 667,000 เฮกเตอร์ หรือประมาณ 4,168,750 ไร่ ในระยะเวลา 5-8 ปีข้างหน้า รวมถึงการร่วมมือกับภาคเอกชนนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ซึ่งอาจส่งผลต่อนโยบายความมั่นคงทางอาหารและการนำเข้าส่งออกธัญพืชของจีนในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ รัฐบาลจีนได้ดำเนินการส่งเสริมและสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวทนดินเค็มร่วมกับประเทศและภูมิภาคอื่นๆ อาทิ ทวีปแอฟริกา เอเชียใต้ ภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งในอนาคตอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าข้าวของไทย ประเทศไทยจึงควรส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าข้าว และให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกร เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและรักษาส่วนแบ่งตลาดการส่งออกข้าวของไทยในจีนและตลาดโลก

ที่มา

  • “海水稻”将给餐桌带来哪些变化 
  • 华为与袁隆平合作培养的“海水稻”是个啥?
  • Chinese team succeeds in planting saltwater rice in Dubai's desert
  • Trials underway for saltwater rice strains
  • New rice strain set to boost food security

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • หน้าหลัก
    • แนะนำหน่วยงาน
      • ความเป็นมา
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
      • ผู้บริหารกระทรวง
      • การแบ่งส่วนราชการ
      • ลิงก์หน่วยงาน
      • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • โครงการกระทรวง
    • ทุนกระทรวง
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • บริการ
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • ข่าวและประกาศ
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • คลังข้อมูล
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • อินโฟกราฟิก
      • วีดิทัศน์
      • โมไบล์แอปพลิเคชัน
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • ค้นหา
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • ติดต่อกระทรวง
    • แผนผังเว็บไซต์
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.