กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • ค้นหา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • ติดต่อกระทรวง
  • แผนผังเว็บไซต์
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • หน้าแรก
  • คลังข้อมูล
  • รายการเอกสารสิ่งพิมพ์

อุตสาหกรรม Big Data เมืองกุ้ยหยาง

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
17 ม.ค. 2563

image 1579241388

(photo: CGTN)

1. เมืองกุ้ยหยางในฐานะ Big Data Valley ของจีน

เมืองกุ้ยหยาง เมืองหลวงของมณฑลกุ้ยโจว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน กำลังกลายเป็นจุดหมายการลงทุนด้านเทคโนโลยี Big Data แห่งใหม่ของจีน เมืองกุ้ยหยางได้เริ่มพัฒนาเทคโนโลยี Big Data ตั้งแต่ปี 2557 และมีความคืบหน้าอย่างก้าวกระโดด รัฐบาลจีนจึงกำหนดให้เมืองกุ้ยหยางเป็นเขตสาธิตอุตสาหกรรม Big Data แห่งแรกของประเทศในปี 2558 และเริ่มจัดงาน The China International Big Data Industry Expo ทุกปีจวบจนปัจจุบัน

ในปี 2561 GDP ของเมืองกุ้ยหยางมีมูลค่า 3.79 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 จากปีก่อนหน้า เป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในกลุ่มเมืองหลวงระดับมณฑลของจีน โดยที่ค่าดัชนีการผนวกรวมกับเศรษฐกิจของ Big Data ของเมืองกุ้ยหยางเท่ากับร้อยละ 45.3 สูงที่สุดในมณฑลกุ้ยโจว นอกจากนี้ เมืองกุ้ยหยางยังมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมที่มีความมั่นคงและปลอดภัยต่อการจัดเก็บข้อมูล สภาพภูมิอากาศที่เย็นสบาย ป้องกันปัญหาความร้อนของระบบประมวลผลและช่วยประหยัดพลังงาน รวมถึงพลังงานไฟฟ้าและพลังงานน้ำที่สะอาดและราคาถูก รวมถึงต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่ดึงดูดบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่จากทั่วโลกเข้ามาลงทุน ช่วงปลายปี 2556 ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมใหญ่ China Telecom China Mobile China Unicom เข้าลงทุนสร้างศูนย์จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลในเขตอุตสาหกรรมใหม่กุ้ยอัน เมืองกุ้ยหยาง และในปี 2560 Huawei Apple Tencent ได้เริ่มโครงการก่อสร้างศูนย์กลางข้อมูลของบริษัทในเมืองกุ้ยหยาง โดยปัจจุบันเมืองกุ้ยหยางมีบริษัทด้าน Big Data รวม 1,632 บริษัทดำเนินธุรกิจในสวนอุตสาหกรรม Big Data 10 แห่ง ซึ่งทำรายได้เข้าสู่เมืองกุ้ยหยางกว่า 1 แสนล้านหยวนในปี 2561 เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

2. ความท้าทายของการพัฒนาเทคโนโลยี Big Data ของเมืองกุ้ยหยาง

ในการประชุมสองสภา (Two Sessions) ปี 2562 ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีของหน่วยงานบริหารราชการและที่ปรึกษาทางการเมืองระดับสูงสุดของจีน นาย Chen Yan ผู้ว่าการเมืองกุ้ยหยาง กล่าวว่าการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Big Data ในหลากหลายอุตสาหกรรมเป็นพลังขับเคลื่อนใหม่สำหรับการปฏิรูปอุตสาหกรรม และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนสู่เมืองยุคใหม่

ในงาน The China International Big Data Industry Expo ปี 2561 เอกสารเรื่อง “ดัชนีความเปิดกว้างของแหล่งข้อมูลจีน” โดยการวิจัยร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย Fudan ห้องทดลองการประยุกต์ใช้ Big Data เพื่อพัฒนาการบริหารของรัฐบาล และสถาบันวิจัยข้อมูลสารสนเทศและดิจิทัลแห่งชาติ ระบุว่า เมืองกุ้ยหยางเป็นเมืองที่เปิดกว้างการเข้าถึงข้อมูลของรัฐบาลสูงที่สุดในประเทศ โดยการใช้แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลของรัฐบาลเมืองกุ้ยหยางซึ่งเชื่อมโยงเข้ากับระบบ Cloud Guizhou ในการแก้ไขปัญหาการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลของรัฐบาล สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งหมดกว่า 6.18 ล้านกลุ่ม โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นพื้นฐานของการสร้างระบบ Big Data+ การบริหารงานของภาครัฐ Big Data+ การให้บริการประชาชน และ Big Data+ คะแนนความน่าเชื่อถือ และสนับสนุนการร่วมใช้ทรัพยากรข้อมูลภาครัฐของบุคลากรและวิสาหกิจเพื่อพัฒนาสังคม

นอกจากนี้ จากรายงานยุทธศาสตร์การพัฒนา Big Data ของมณฑลกุ้ยโจว ฉบับปี 2562 ระบุว่า มณฑลกุ้ยโจวและเมืองกุ้ยหยางมีความได้เปรียบด้านการจัดทำข้อกฎหมายระดับท้องถิ่นเกี่ยวกับ Big Data โดยในปี 2560 รัฐบาลมณฑลกุ้ยโจวได้ประกาศ “กฎระเบียบผลักดันการประยุกต์ใช้และพัฒนา Big Data ของมณฑลกุ้ยโจว” ส่วนรัฐบาลเมืองกุ้ยหยาง ได้ประกาศ “กฎระเบียบเกี่ยวกับการแบ่งปันและเปิดกว้างข้อมูลภาครัฐของเมืองกุ้ยหยาง” และตามด้วยมาตรการต่างๆ ในปี 2561 เช่น “มาตรการควบคุมทรัพยากรข้อมูลภาครัฐ” “มาตรการบังคับใช้การแบ่งปันและเปิดกว้างข้อมูลภาครัฐ” และ “มาตรการชั่วคราวสำหรับการตรวจสอบการแบ่งปันและเปิดกว้างข้อมูลภาครัฐ” เป็นต้น ซึ่งเป็นกฎระเบียบและมาตรการส่งเสริม สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา Big Data ของเมืองกุ้ยหยาง และเป็นต้นแบบการจัดทำกฎระเบียบและมาตรการที่เกี่ยวข้องให้แก่เมืองและมณฑลอื่นๆ เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาภาพรวมการพัฒนาเทคโนโลยี Big Data ของเมืองกุ้ยหยางจะพบว่า เป็นการประยุกต์ใช้สำหรับการใช้งานของภาครัฐเป็นส่วนมาก การพัฒนาเชิงพาณิชย์และการใช้งานของประชาชนยังเติบโตค่อนข้างช้า และการลงทุนสร้างศูนย์ข้อมูลของบริษัทรายใหญ่ในเมืองกุ้ยหยาง ยังขาดการต่อยอดใช้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งต้องการแผนการแก้ไขในระยะต่อไป

image 1579241595

(photo: xinhua)

บทวิเคราะห์ / ข้อคิดเห็น

เมืองกุ้ยหยางเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยี Big Data ของจีน ด้วยจุดเด่นด้านสวนอุตสาหกรรม Big Data ที่มีศูนย์จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลของบริษัทอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยียักษ์ใหญ่หลายราย และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Big Data ในภาครัฐ ที่ช่วยพัฒนาการปกครองและบริหารงานของภาครัฐและการให้บริการประชาชน แก้ไขปัญหาการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลของรัฐบาล ให้ภาคเอกชนสามารถเข้าถึงทรัพยากรข้อมูลภาครัฐเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ภายใต้กฎหมายที่กำกับดูแลการพัฒนาและใช้งาน Big Data ตลอดจนถึงการจัดงาน The China International Big Data Industry Expo ประจำปีที่รวบรวมทรัพยากรและพัฒนาการที่น่าสนใจของเทคโนโลยี Big Data เข้าไว้ด้วยกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยอาจพิจารณาการศึกษาดูงานหรือสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของอุตสาหกรรม Big Data เมืองกุ้ยหยางเป็นแนวทางในการผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี Big Data ของไทย

ที่มา

  • Guiyang grows its global influence via big data
  • 贵阳大数据产业软肋在哪里
  • 2018贵阳市大数据发展十大新闻
  • 《贵州蓝皮书·贵州大数据战略发展报告(2019)》在贵阳发布

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • หน้าหลัก
    • แนะนำหน่วยงาน
      • ความเป็นมา
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
      • ผู้บริหารกระทรวง
      • การแบ่งส่วนราชการ
      • ลิงก์หน่วยงาน
      • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • โครงการกระทรวง
    • ทุนกระทรวง
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • บริการ
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • ข่าวและประกาศ
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • คลังข้อมูล
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • อินโฟกราฟิก
      • วีดิทัศน์
      • โมไบล์แอปพลิเคชัน
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • ค้นหา
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • ติดต่อกระทรวง
    • แผนผังเว็บไซต์
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.