กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • ค้นหา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • ติดต่อกระทรวง
  • แผนผังเว็บไซต์
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • หน้าแรก
  • คลังข้อมูล
  • รายการเอกสารสิ่งพิมพ์

โครงการฉางเอ๋อกับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีอวกาศของจีน

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
17 ม.ค. 2563

image 1579241843

(photo: spacenews)

1. โครงการสำรวจดวงจันทร์ของจีน

ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้ทุ่มงบประมาณมหาศาลในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศเพื่อก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในมหาอำนาจด้านเทคโนโลยีอวกาศของโลก หนึ่งในโครงการสำคัญของจีน คือ การสำรวจดวงจันทร์ โดยองค์การอวกาศแห่งชาติของจีน (China National Space Administration: CNSA) ได้ริเริ่มการวิจัยความเป็นไปได้ของการสำรวจดวงจันทร์ตั้งแต่ปี 2537 และต่อมาได้จัดทำโครงการ China Lunar Exploration Project (CLEP) หรือโครงการฉางเอ๋อ (Chang’E) ในปี 2547 โดยตั้งเป้าหมายภารกิจสำรวจดวงจันทร์ของจีนแบ่งเป็น 3 ระยะ ซึ่งมีความคืบหน้า ดังนี้

  • ระยะที่ 1 “การโคจรรอบดวงจันทร์” ในปี 2550 CNSA ได้ทำการส่งยานสำรวจฉางเอ๋อ 1 ขึ้นโคจรรอบดวงจันทร์ที่ระยะความสูง 2,000 กิโลเมตรจากพื้นผิวดวงจันทร์เป็นเวลา 16 เดือน และส่งข้อมูลการสำรวจดวงจันทร์กลับมายังโลก จากนั้นในปี 2553 ยานฉางเอ๋อ 2 ขึ้นไปโคจรรอบดวงจันทร์ที่ระยะความสูงเพียง 100 กิโลเมตรจากพื้นผิวดวงจันทร์ สามารถทำการสำรวจและเก็บข้อมูลดวงจันทร์ที่ละเอียดยิ่งขึ้น เช่น ภาพสามมิติของแผนที่ดวงจันทร์ แหล่งแร่ธาตุสำคัญของดวงจันทร์ และคุณสมบัติของดินบนผิวดวงจันทร์ เป็นต้น
  • ระยะที่ 2 “การลงจอดบนดวงจันทร์” ในปี 2556 CNSA ได้ส่งยานฉางเอ๋อ 3 ลงจอดบนดวงจันทร์ พร้อมปล่อยหุ่นยนต์สำรวจ Yutu-1 (Jade Rabbit-1) เก็บข้อมูลบนพื้นผิวดวงจันทร์และเก็บข้อมูลภาพหน้าตัดธรณีวิทยาของดวงจันทร์ ซึ่งทำให้พิสูจน์ได้ว่าบนดวงจันทร์ไม่มีน้ำ โดยยานฉางเอ๋อ 3 เป็นยานสำรวจดวงจันทร์ลำแรกที่สามารถทำงานสำรวจบนดวงจันทร์ได้นานถึง 2 ปีกว่า ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2556 ถึงเดือนกรกฎาคม 2559 และล่าสุดในปี 2561 CNSA ได้ส่งยานฉางเอ๋อ 4 พร้อมหุ่นยนต์สำรวจ Yutu-2 ลงจอดบนพื้นผิวด้านไกลของดวงจันทร์ ถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกของมนุษยชาติในการสำรวจด้านไกลของดวงจันทร์
  • ระยะที่ 3 “การกลับสู่โลก” ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป หากการดำเนินงานราบรื่น CNSA คาดว่าจะสามารถส่งยานสำรวจฉางเอ๋อ 5 ไปลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้ในปี 2562 หรือ 2563 และจะทำการเก็บตัวอย่างดินของดวงจันทร์ส่งกลับมายังโลกเพื่อใช้ศึกษาวิจัยต่อไป

2. ภารกิจของยานฉางเอ๋อ 4

ยานฉางเอ๋อ 4 ได้ออกเดินทางจากศูนย์ปล่อยดาวเทียมซีชาง (Xichang Satellite Launch Center) มณฑลเสฉวน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2561 และร่อนลงจอดบนพื้นผิวด้านไกลของดวงจันทร์ในวันที่ 3 มกราคม 2562 พร้อมปล่อยรถสำรวจ Yutu-2 ซึ่งเป็นยานลูกออกมาทำการสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ การปฏิบัติภารกิจของยานฉางเอ๋อ 4 มีความท้าทายอย่างมาก ตำแหน่งที่ยานลงจอดในฝั่งด้านไกลของดวงจันทร์ คือ หลุม Von Kármán ซึ่งเป็นหลุมอุกกาบาตกว้างขนาด 186 กิโลเมตรในแอ่ง South Pole-Aitken Basin ที่ภูมิประเทศเต็มไปด้วยเทือกเขาและหลุมอุกกาบาตจำนวนมาก ต่างจากด้านใกล้ที่ส่วนมากเป็นที่ราบ ทำให้การลงจอดมีความเสี่ยงมากกว่า นอกจากนี้ ยานฉางเอ๋อ 4 ไม่สามารถรับส่งสัญญาณโดยตรงกับทางโลก โดยต้องสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียมถ่ายทอดสัญญาณเชวี่ยเฉียว (Que Qiao) ที่ถูกส่งขึ้นไปประจำตำแหน่งที่จุดลากรันจ์ 2 ของระหว่างโลกและดวงจันทร์ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561

ภารกิจหลักของยานฉางเอ๋อ 4 ได้แก่ การสำรวจและวิจัยคลื่นวิทยุความถี่ต่ำบริเวณด้านไกลของดวงจันทร์ซึ่งปลอดสัญญาณรบกวนความถี่วิทยุจากโลก การสำรวจภูมิประเทศ องค์ประกอบแร่ธาตุ และโครงสร้างพื้นผิวของดวงจันทร์ และการตรวจสอบสภาพแวดล้อมของดวงจันทร์ เช่น การทดลองวัดปริมาณรังสี (ระดับการแผ่รังสีจากนิวตรอน) และนิวตรอนจากยานที่แล่นลงจอดบนดวงจันทร์ ทั้งนี้ นอกจากภารกิจสำรวจดวงจันทร์ ยานฉางเอ๋อ 4 จะทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงโครงการทดลองปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์บนดวงจันทร์ โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฉงชิ่งและมหาวิทยาลัยในจีนอีก 27 แห่ง ด้วยการเลี้ยงหนอนไหม ปลูกต้นเธลเครส (Thale Cress) และมันฝรั่งในกระป๋องอะลูมิเนียมขนาด 0.8 ลิตรที่บรรจุดิน น้ำ ปุ๋ย และมีช่องที่แสงธรรมชาติจะส่องเข้าถึงได้ เป็นระบบนิเวศน์ขนาดเล็กเพื่อทดลองการสังเคราะห์แสงและการเจริญเติบโตของพืชในสภาพแวดล้อมบนดวงจันทร์ โดยนายหลิว ฮั่นหลง ประธานโครงการทดลองและรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยฉงชิ่งกล่าวว่า “การเลือกพืชสองชนิดนี้ในโครงการทดลอง เนื่องจากช่วงชีวิตของเธลเครสสั้น เหมาะสมต่อการสังเกตการณ์และเก็บข้อมูล ส่วนมันฝรั่งเป็นพืชสำคัญที่อาจเป็นแหล่งอาหารสำหรับมนุษย์อวกาศในอนาคต โครงการทดลองมุ่งวิจัยความรู้พื้นฐานสำหรับการสร้างฐานบนดวงจันทร์เพื่อการอาศัยระยะยาวในอนาคต”

3. การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านอวกาศของจีน

จีนได้สร้างความร่วมมือด้านอวกาศกับนานาประเทศ โดยร่วมมือกับประเทศเยอรมัน สวีเดน เนเธอร์แลนด์ และซาอุดิอาระเบีย ทำการพัฒนาอุปกรณ์การทดลองสำหรับใช้ในภารกิจของยานฉางเอ๋อ 4 และได้ลงนามในเอกสารความตกลงความร่วมมือการสำรวจดวงจันทร์ร่วมกับหน่วยงาน United Nations Office for Outer Space Affairs (UNOOSA) และประเทศตุรกี เอธิโอเปีย และปากีสถาน โดยที่จีนแสดงท่าทีชัดเจนในการเปิดประตูกว้างต่อความร่วมมือระหว่างประเทศ

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2562 สำนักข่าว China Daily รายงานทิศทางนโยบายด้านอวกาศของจีนจากบทความ "China's present and future lunar exploration program" ที่ตีพิมพ์ในวารสารพิเศษเนื่องในวาระครบรอบ 50 การลงจอดบนดวงจันทร์ของยานอพอลโล 11 โดยนายหลี่ ชุนไหล หัวหน้าวิศวกรและผู้อำนวยการฝ่ายระบบวิจัยและการประยุกต์ภาคสนามประจำโครงการฉางเอ๋อ ระบุว่า “โครงการสำรวจดวงจันทร์ของจีนมีความยืดหยุ่นและต่อเนื่อง จีนมีเป้าหมายการสร้างสถานีวิจัยต้นแบบเพื่อเตรียมส่งมนุษย์ขึ้นไปสำรวจดวงจันทร์ภายในปี 2573 ที่จะสามารถใช้เป็นฐานที่ตั้งในการขึ้นไปบนดวงจันทร์ทั้งสำหรับการวิจัยระยะสั้นและการอยู่อาศัยระยะยาว โดยความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญต่อยุทธศาสตร์การสำรวจดวงจันทร์และอวกาศของจีน จีนยินดีสร้างความร่วมมือกับ NASA โดยอาจเริ่มจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์อวกาศ จีนหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาความร่วมมือกับ NASA เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมของอวกาศสำหรับคนรุ่นต่อไป”

image 1579241865

(photo: bloomberg)

บทวิเคราะห์ / ข้อคิดเห็น

ความสำเร็จของยานฉางเอ๋อ 4 ถือเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและการสำรวจอวกาศของจีน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของชาติมหาอำนาจทางอวกาศกับจีน ความสำเร็จของจีนอาจนำมาซึ่งการแข่งขันด้านเทคโนโลยีอวกาศระหว่างชาติมหาอำนาจที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับโครงการสำรวจอวกาศของสหรัฐฯ และรัสเซีย พัฒนาการของจีนยังค่อนข้างช้า ทำให้จีนพยายามสื่อถึงความต้องการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศด้านอวกาศ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานของจีนสามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ที่มา

  • 中国成功实现人类探测器首次月球背面软着陆
  • 一张图了解“嫦娥大家族”
  • China Focus: Flowers on the Moon? China's Chang'e-4 to launch lunar spring
  • China invites other nations to join moon exploration

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • หน้าหลัก
    • แนะนำหน่วยงาน
      • ความเป็นมา
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
      • ผู้บริหารกระทรวง
      • การแบ่งส่วนราชการ
      • ลิงก์หน่วยงาน
      • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • โครงการกระทรวง
    • ทุนกระทรวง
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • บริการ
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • ข่าวและประกาศ
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • คลังข้อมูล
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • อินโฟกราฟิก
      • วีดิทัศน์
      • โมไบล์แอปพลิเคชัน
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • ค้นหา
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • ติดต่อกระทรวง
    • แผนผังเว็บไซต์
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.