กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • กฐินพระราชทาน
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • ภาพข่าวและกิจกรรม

8 เมษายน นี้เตรียมพร้อมถ่ายภาพ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
07 Apr 2020

1

ภาพถ่ายดวงจันทร์เปรียบเทียบขนาดกับวัดพระธาตุดอยสุเทพ

          ในวันที่ 8 เมษายน 2563 นี้เป็นช่วงที่ดวงจันทร์เต็มดวงเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่างเพียง 356,897 กม. โดยดวงจันทร์จะมีขนาดใหญ่กว่าปกติเล็กน้อยประมาณ 7.8 % ดังนั้นหากเราได้ถ่ายภาพดวงจันทร์ในคืนกล่าว เราก็จะได้ภาพดวงจันทร์ที่มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติ และหากนำเอาภาพดวงจันทร์ในวันที่ 8 เมษายน ไปเปรียบเทียบกับ ภาพดวงจันทร์ในวันที่ 31 ตุลาคม ในปีเดียวกันนี้ เราก็จะได้ภาพดวงจันทร์ที่เห็นขนาดที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน (ต้องถ่ายด้วยอุปกรณ์เดียวกัน)

เกร็ดความรู้เรื่อง “ดวงจันทร์เต็มดวงเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี”

          ดวงจันทร์เต็มดวงเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี หรือที่คนทั่วไปมักเรียกกันว่า Super Moon นั้นเป็นเพียงการเรียกชื่อเหตุการณ์ ที่ดวงจันทร์เต็มดวงเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบปีเท่านั้น ไม่ใช่ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่นักดาราศาสตร์ติดตามแต่อย่างใด

          อย่างไรก็ตาม คำว่า Super Moon นั้นก็ไม่ได้รับการยอมรับหรือใช้กัน ในเหล่านักดาราศาสตร์หรือนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นเพียงการตั้งชื่อช่วงเหตุการณ์ที่ดวงจันทร์มาอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้โลกมากที่สุดในช่วงที่ดวงจันทร์เต็มดวงเท่านั้น แต่คำที่นักดาราศาสตร์ใช้กัน คือคำว่า "Perigee" ซึ่งเป็นจุดที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกที่สุดในวงโคจร

          ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี ดังนั้น วงโคจรที่เป็นวงรีของดวงจันทร์นี้ จึงทำให้ระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์นั้นไม่คงที่ ทำให้บางครั้งดวงจันทร์ก็จะอยู่ใกล้โลก และบางครั้งก็จะอยู่ไกลโลก นักดาราศาสตร์ เรียกตำแหน่งที่ใกล้โลกที่สุดของดวงจันทร์ว่า "Perigee" และตำแหน่งที่ไกลที่สุดว่า "Apogee" ซึ่งการเข้าใกล้โลกมากที่สุด และไกลโลกมากที่สุดเกิดขึ้นอยู่ทุกๆ 27.3 วัน ตามคาบการโคจรของดวงจันทร์ไปรอบๆ โลก

2

หมายเหตุ : การเข้าใกล้โลกของดวงจันทร์ ระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์แตกต่างกันไปแต่ละเดือนอยู่ระหว่าง 356,400 และ 406,700 กิโลเมตร เนื่องจากวงโคจรรูปวงรีของดวงจันทร์

หลากหลายการนิยามของการเรียกชื่อ “Super Moon”

          ตัวอย่างแรก กำหนดโดยนักโหราศาสตร์ ชื่อ ริชาร์ด นอลล์ โดยให้นิยามว่า “Super Moon” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ไม่ว่าจะเป็นจันทร์ดับหรือจันทร์เพ็ญซึ่งเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์อยู่ที่หรือเข้าใกล้ (ในขอบเขต 90% ของ) ระยะใกล้โลกที่สุดในวงโคจร (จุดโคจรใกล้สุดจากโลก) หากกล่าวโดยย่อ โลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ทั้งหมดเรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกัน โดยดวงจันทร์อยู่ในระยะใกล้โลกที่สุด

ตัวอย่างเช่น

ดวงจันทร์อยู่ไกลที่สุดในรอบปี (2563) ที่ระยะห่าง: 406,381 กม.

ดวงจันทร์อยู่ใกล้ที่สุดในรอบปี (2563) ที่ระยะห่าง: 356,897 กม.

(1) 406,381 - 356,897 = 49,484

(2) ร้อยละ 90 ของผลต่างระยะทาง (49,484) = 44,536

(3) 406,381 - 44,536 = 361,845

ดังนั้น จะได้ระยะห่างที่สามารถเรียกว่า ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก คือ : น้อยกว่า 361,845 กิโลเมตร *** แต่นั่น หมายถึงทั้งช่วงที่เป็น “จันทร์ดับหรือจันทร์เพ็ญ” เรียกได้หมด

          ตัวอย่างที่สอง “Super Moon” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เต็มดวง ที่เกิดขึ้นเมื่อระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์น้อยกว่า 360,000 กิโลเมตร จากใจกลางโลก และจะเรียกช่วงที่ดวงจันทร์เต็มดวง มีระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์มากกว่า 405,000 กิโลเมตร จากใจกลางโลก ว่า “Micro Full moon”

          โดยที่ขนาดเชิงมุมของ Super Full Moon มีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ช่วง Micro Full moon 12.5% ​​–14.1% และขนาดใหญ่ช่วงดวงจันทร์เต็มดวงปกติเฉลี่ย 5.9% –6.9%

*** แต่นั่น หมายถึงทั้งช่วงที่เป็น “ดวงจันทร์เต็มดวง ที่มีระยะน้อยกว่า 360,000 กิโลเมตร ทั้งหมด” ซึ่งในหนึ่งปี ก็อาจจะเกิดขึ้นได้หลายเดือนก็สามารถเรียกได้หมด

          ตัวอย่างที่สาม เป็นนิยามที่เรียกชื่อว่า “Super Full Moon” ที่นักดาราศาสตร์ใช้กันมากที่สุด เมื่อดวงจันทร์เต็มดวง มีระยะระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์น้อยกว่า 360,000 กิโลเมตร จากใจกลางโลก และต้องเป็นช่วงที่ใกล้โลกมาที่สุดในรอบปีเท่านั้น ซึ่งปีนี้ตรงกับคืนวันที่ 8 เมษายน 2563 นั่นเองครับ

สำหรับการถ่ายภาพ “Super Moon” นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ดังนี้

1. การถ่ายภาพดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก เปรียบเทียบกับ ช่วงเต็มดวงไกลโลก ด้วยอุปกรณ์เดียวกัน

3

ภาพเปรียบเทียบขนาดดวงจันทร์ไกลโลกมากที่สุดในรอบปีกับภาพดวงจันทร์ใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี 2562

          การถ่ายภาพเปรียบเทียบขนาดดวงจันทร์เต็มดวงนั้น ด้วยอุปกรณ์เดียวกัน ถือเป็นรูปแบบที่นักดาราศาสตร์นิยมถ่ายภาพกันมากที่สุด แต่ต้องรอเวลาหลายเดือนเพื่อให้ได้ภาพช่วง ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกมากที่สุด (Micro Full Moon) โดยในปีนี้ Micro Full Moon จะเกิดขึ้นตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม 2563

2. การถ่ายภาพจันทร์เปรียบเทียบขนาดกับวัตถุบริเวณขอบฟ้า

4

ภาพถ่าย Moon Illusion โดยการถ่ายดวงจันทร์เปรียบเทียบกับวัดพระธาตุดอยสุเทพ

(ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ / Camera : Canon 7D / Lens : Astrotech 5 Inch / Focal length : 1,200 mm. / Aperture : f/8 / ISO : 800 / Exposure : 1/800s)

          การถ่ายภาพเปรียบเทียบขนาดวัตถุบริเวณขอบฟ้ากับดวงจันทร์เต็มดวง นั้นถือเป็นอีกรูปแบบของการถ่ายภาพเพื่อแสดงให้เห็นขนาดปรากฏของดวงจันทร์ในช่วงใกล้โลกมากที่สุด ซึ่งภาพประเภทนี้เรามักเรียกกันว่า ภาพถ่าย Moon Illusion ซึ่งการถ่ายภาพ ผู้ถ่ายต้องหาตำแหน่งที่ดวงจันทร์จะขึ้นจากขอบฟ้า ณ มุมทิศอะไร และวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพเพื่อเปรียบเทียบขนาดกับดวงจันทร์ ก็ควรต้องมีระยะห่างจากผู้ถ่ายไกลหลายกิโลเมตร

          เทคนิคที่ใช้ประมาณขนาดวัตถุบริเวณขอบฟ้ากับดวงจันทร์ สามารถใช้วิธีการวัดขนาดเชิงมุม ด้วยการเหยียดแขนให้สุด ให้นิ้วก้อยเทียบกับขนาดวัตถุที่อยู่ไกลออกไป ว่ามีขนาดใหญ่ไม่เกิน 1 นิ้วก้อย ก็เป็นอันใช้ได้ เนื่องจากขนาดเชิงมุม 1 นิ้วก้อย มีค่าเท่ากับ 1 องศา ส่วนดวงจันทร์เต็มดวงนั้นมีขนาดเชิงมุมเพียง 0.5 องศาเท่านั้น (รายละเอียดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ตามลิงก์ : https://mgronline.com/science/detail/9590000110921)

3. การถ่ายภาพดวงจันทร์ใกล้โลกกับบุคคล

5

          ภาพถ่ายดวงจันทร์กับกริยาท่าทางต่างๆ ของบุคคลก็เป็นอีกรูปแบบการถ่ายภาพดวงจันทร์ใกล้โลก ซึ่งเราก็จะได้ภาพแนวๆ ไว้อวดเพื่อนๆ กันได้ และเทคนิคนี้ส่วนตัวคิดว่า เป็นรูปแบบการถ่ายภาพที่สนุกมากทีเดียว เพราะตัวแบบ(เพื่อนเรา) ก็คนถ่าย ไม่จำเป็นต้องอยู่กันไกลมากนัก ประมาณ 100 เมตร ก็พอได้แล้ว ที่เหลือก็คือเราต้องคอยตะโกนบอกเพื่อนให้ทำท่าทางต่างๆ เท่านั้น

4. การถ่ายภาพดวงจันทร์เปรียบเทียบกับวัตถุบนท้องฟ้า (เครื่องบิน)

6

ภาพถ่ายดวงจันทร์เต็มดวง ในช่วงจังหวะที่เครื่องบินกำลังบินผ่านดวงจันทร์พอดี

(Camera : Canon 5D Mark ll / Lens : Takahashi TOA 150 + Extender 1.5X / Focal length : 1650 mm. / Aperture : f/11 / ISO : 1600 / Exposure : 1/320 sec)

          สำหรับรูปแบบสุดท้ายที่จะแนะนำการถ่ายภาพดวงจันทร์ Super Full Moon ดวง ในช่วงจังหว่ะที่เครื่องบินกำลังบินผ่านดวงจันทร์พอดี ซึ่งนอกจากจะเป็นเรื่องของความโชคดีแล้ว หากเราลองเช็คตารางบินดูจากแอพพลิเคชั่น Flightradar24 ก็จะทราบเวลาการขึ้น-ลง และเส้นทางการบินได้

          แต่อย่างไรก็ตามการถ่ายให้ได้จังหว่ะ ตำแหน่ง ที่เครื่องบินบินผ่านหน้าดวงจันทร์นั้นก็ไม่ใช้เรื่องง่ายเท่าไหร่นัก ถึงแม้ว่าเราจะพอทราบเส้นทางการบินแต่ดวงจันทร์ในแต่ละเดือนก็จะมีการแกว่งไปมาตามแนวเส้นสุริยะวิถีประมาณ 5 องศา จึงต้องอาศัยโชคช่วยในการถ่ายภาพรูปแบบนี้ด้วย

7

ข้อมูลข่าวโดย : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
วิกฤตินกเงือกไร้โพรงรัง สวทช. หนุนซ่อม หวังเพิ่มโอกาสขยายพันธุ์นกเงือก วว. แชร์ไอเดีย ปลูกอย่างไร ให้มีผักกินตลอดระยะเวลา 3 เดือน เน้นสด สะอาด ปลอดภัย ด้วยมือของท่านเอง
  • GISTDA จัดอบรม หลักสูตร ระบบสา ...
    ข่าวประชุม/อบรม/สัมมนา | ข่าวสารหน่วยงาน
    GISTDA จัดอบรม หลักสูตร ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน (GIS for Beginners)
    06 Jan 2021
    อว. ประกาศมาตรการผ่อนผันการแพร ...
    ภาพข่าวและกิจกรรม
    อว. ประกาศมาตรการผ่อนผันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ฉบับที่ 6
    15 Jun 2020
    อว. กห. ลงนาม MOU ความร่วมมือด ...
    ข่าวผู้บริหาร สป.อว. | ข่าวสารหน่วยงาน
    อว. กห. ลงนาม MOU ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคง
    06 Jul 2021
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

"วราภรณ์“ รองปลัดกระทรวง อว. เ ...
ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
"วราภรณ์“ รองปลัดกระทรวง อว. เชียร์นักกีฬาไทยติดขอบสนามกีฬา ม.โลก 2025 พร้อมสนับสนุนนโบายส่งเสริมกีฬ...
21 Jul 2025
สำนักงานปลัดกระทรวง อว. หนุนสถ ...
ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
สำนักงานปลัดกระทรวง อว. หนุนสถาบันอุดมศึกษา ยกระดับ TLO – ปั้นแพลตฟอร์มเร่งธุรกิจนวัตกรรม เชื่อมผลงา...
21 Jul 2025
กระทรวง อว. โดย วว. / วช. ผนึก ...
ข่าวสารหน่วยงาน
กระทรวง อว. โดย วว. / วช. ผนึกพลังพันธมิตรปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 5,000 ต้น โดยใช้กล้าไม้ผสมเชื้อเห็ด...
21 Jul 2025

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • กฐินพระราชทาน
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.