กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • อว.พารับส่วนลด
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Sitemap
  • Contact
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
Rectangle 150
  • Home
  • คลังข้อมูล
  • Infographic/Quote

จากใจชาว อว. ภารกิจท ...

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
22 Dec 2022

321035002 964858224491734 8633375056871755564 n

“จากใจชาว อว.”
ภารกิจที่ 9 ข้อมูลวิชาการถูกต้อง รวดเร็ว ฉับไว ชาว อว. ส่งต่อข้อมูลวิชาการเพื่อประชาชน

       นอกจากบทบาทหน้าที่ของการเป็นนักวิจัย นวัตกร นักวิทยาศาสตร์ อาจารย์มหาวิทยาลัย และบุคลากรทางการแพทย์แล้ว อีกหนึ่งภารกิจที่ชาว อว. ทำควบคู่กันมาโดยตลอดก็คือ ‘การให้ข้อมูลข่าวสาร’ เกี่ยวกับโควิด-19 ที่ถูกต้องและเป็นไปตามหลักวิชาการ

      ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารทางการแพทย์จากนานาชาติ หรือผลงานวิจัยที่ออกมาจากห้องวิจัยของคนไทยเอง เมื่อมองว่าเป็นประโยชน์ต่อการรับมือกับวิกฤติก็จำเป็นต้องเผยแพร่ให้ทุกคนได้รับทราบ โดยในมิติของภาครัฐนั้น ชุดข้อมูลที่มีคุณภาพมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการ ‘กำหนดนโยบาย’ หรือมาตรการต่าง ๆ ที่จะช่วยลดผลกระทบจากโควิด-19 ส่วนมิติของภาคประชาชนนั้น ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจะช่วยให้พวกเขาสามารถดูแลตนเองและคนรอบตัวให้มีสุขภาวะที่ดีและปลอดภัยท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาด

      การอยู่ในยุคข้อมูลข่าวสารล้นโลก มีถูกมีผิดปะปนกันไป จนบางครั้งนำไปสู่การถกเถียงกันทางความคิด แต่หน้าที่ของชาว อว. คือ การนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ ‘ถูกต้อง แม่นยำ’ ผ่านองค์ความรู้และความปรารถนาดีที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นประโยชน์สูงสุดแก่สังคม

320749430 3072321103066712 3553189674237123180 n

“ลงทุนในงานวิจัยเพื่ออนาคตที่มั่นคง”

      นอกเหนือจากการสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อต่อสู้กับโควิด-19 แล้ว หนึ่งในสิ่งที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มองว่าสำคัญไม่แพ้กัน คือการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่ ซึ่งถือว่าหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงภาคประชาชนยังมีความเข้าใจกันน้อยมาก ยิ่งเฉพาะช่วงระยะเวลาการเริ่มต้นการระบาด บทบาทของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติจึงเริ่มต้นทำหน้าที่นี้ตั้งแต่การรายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อ สถานการณ์การฉีดวัคซีน ควบคู่ไปกับการประเมินสถานการณ์ในประเทศไทยเทียบเคียงกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

“นับตั้งแต่สายพันธุ์อัลฟา เบตา เดลตา มาจนถึงโอมิครอน หนึ่งในนักวิจัยโดดเด่น ที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติมอบทุนให้และมีผลงานวิจัยออกมาตลอดคือ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ทั้งติดตามการติดเชื้อ ทำความเข้าใจกับภาคประชาชนด้วยชุดข้อมูลจากการวิจัย ให้ข้อมูลการฉีดวัคซีน เช่น การฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเปราะบางที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับกลุ่ม 608 การฉีดเข็มกระตุ้นที่ 3 และ 4 รวมถึงการให้ความรู้เรื่องการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ ทั้งหมดนี้เกิดจากงานวิจัยที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติเข้ามามีส่วนร่วมในลักษณะของการให้ทุนวิจัยทั้งสิ้น”

“งานวิจัยและนวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมระบบการทำงานสู้โควิด-19 ให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้เริ่มต้นสื่อสารแบบสองทาง (Two-Way Communication) กับสังคมเพื่อนำเสียงตอบรับมาออกแบบนโยบาย ด้วยการทำโพลขนาดใหญ่ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งหมด 38 แห่งทั่วประเทศจนได้ชุดข้อมูลที่มีประโยชน์และแม่นยำ ในขณะเดียวกันสถานการณ์โรคระบาดครั้งนี้ ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ถ้าประเทศลงทุนกับงานวิจัยและนวัตกรรมมากพอ ทุกอย่างจะกลายเป็นฐานที่มั่นคงในอนาคต”

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง
ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

 

320987924 3035018906791481 7089099908962197634 n

“บทบาทแบบ Nonstop ของคนเบื้องหลัง”

     คุณคุณชนก ปรีชาสถิตย์ คือเรี่ยวแรงสำคัญจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการเผยแพร่ข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ต่อเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงสาธารณชนมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เวลานั้นคนทั่วโลกเพิ่งเริ่มได้ยินข่าวการระบาดในเมืองอู่อั่น ประเทศจีน ซึ่งแน่นอนว่า เราไม่เคยรู้จักคำว่า Quarantine,
Social Distancing หรือ Field Hospital มาก่อน ทีนี้จะทำอย่างไรให้รายงานทางการแพทย์ที่เข้าใจยากแถมมาจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลกกลายเป็นข้อมูลที่ไม่ว่าใครก็เข้าถึงได้

      “ตั้งแต่คนในประเทศติดเชื้อรวมกันแล้วยังไม่ถึงร้อยคน เราทำกราฟคาดการณ์อนาคตการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยว่าจะเป็นไปในทิศทางใด โดยเปรียบเทียบกับจีนและอิตาลีที่มีการระบาดรุนแรง ณ เวลานั้น ทำให้ข้อมูลชิ้นดังกล่าวมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะผลจากการอธิบายภาพนั้นนำไปสู่การตัดสินใจครั้งสำคัญคือ การสั่งงดวันหยุดสงกรานต์และปิดโรงเรียนเพื่อประคองสถานการณ์ไม่ให้เลวร้ายลง”

    “โชคดีที่่มีท่านปลัด ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้ซึ่งเป็นทั้งแพทย์และเป็นผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง เป็นหัวหน้าทีมทำงาน เพราะท่านตรวจงานเอง คิดโจทย์เอง สั่งการเอง เรียกได้ว่า ไลน์ของเรากับท่านมีแต่ข้อมูลวิชาการเต็มไปหมด”

      “ความคาดหวังของเราคือ เปลี่ยนข้อมูลมหาศาลที่คนไม่คิดเข้าไปอ่านให้ออกมาเป็นอินโฟกราฟิกที่สวยงาม เข้าใจง่าย ซึ่งเริ่มจากการเปลี่ยนมุมมองของตัวเองว่า เราสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อแบ่งเบาภารกิจของบุคลากรทางการแพทย์ที่อาจจะไม่มีเวลามาบอกข้อมูลเหล่านี้ในช่วงเวลาวิกฤติ โดยเราเหมือนเป็นคนเบื้องหลังที่ทำงานและเสียสละทุกอย่าง ทั้งทำข้อมูล ประชุม ถึงเวลาวันหยุดก็ไม่เคยได้พักเลยตั้งแต่ต้นปี 2563”

คุณคุณชนก ปรีชาสถิตย์
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
—————————

 

320932170 677669460491908 3900584153531949838 n

“หัวใจสำคัญคือข้อมูลที่ถูกต้อง”

      ในฐานะผู้ที่คลุกคลีอยู่กับแวดวงวิชาการมานานกว่า 40 ปี โควิด-19 จึงไม่ใช่ครั้งแรกของภารกิจการสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่ เพราะบทเรียนจากโรคซาร์ส ไข้หวัดนก และไข้หวัดใหญ่ 2009 ล้วนเป็นประสบการณ์สำคัญที่ช่วยสะสมองค์ความรู้และสร้างกระบวนการวินิจฉัยอันรวดเร็ว
ซึ่งทันทีที่มีกระแสข่าวโรคเกี่ยวกับปอดอักเสบระบาดในช่วงปลายปี 2562 ชื่อของ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ได้กลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจถึงการรับมือกับโรคนี้มาโดยตลอด

     “ผมเริ่มหันมาใช้สื่อสังคมออนไลน์ตั้งแต่มีหลาน ในฐานะที่เป็นหมอเด็กจึงเห็นได้ชัดเลยว่าช่องทางนี้มีอิทธิพลอย่างมากในการให้ข้อมูล และประชาชนส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็รับข้อมูลผ่านทางช่องทางนี้ เราจึงหันมาให้ความรู้ทางการแพทย์ที่ถูกต้องผ่านสื่อสังคมออนไลน์เรื่อยมา โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาการแล้วให้คนอ่านตัดสินใจเองว่าจะเชื่อหรือไม่ แม้ว่าในบางครั้งการใช้สื่อสังคมออนไลน์จะเป็นดาบสองคมที่ทำให้เกิดความเห็นที่รุนแรง แต่ท้ายที่สุด
เราต้องการให้สังคมของเราเป็นสังคมที่อุดมปัญญา”

      “เราเผยแพร่ข้อมูลเฉลี่ยวันละ 1 ครั้งตลอดสองปีที่ผ่านมา ซึ่งข้อมูลทุกชุดได้จากองค์ความรู้ที่เป็นข้อมูลใหม่ที่ทีมงานของเราวิจัยเองและเผยแพร่ให้สังคมได้รับทราบทันที ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดก็คือ การบอกต่อผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่างครบครัน นับตั้งแต่เรื่องโรค ความรุนแรง การตรวจวินิจฉัย การป้องกัน ไปจนถึงการฉีดวัคซีนเพื่อยุติโรค โดยให้สื่ออื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์หรือสื่อสิ่งพิมพ์ได้นำไปเผยแพร่ต่อ”

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ
หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
—————————

 

320982690 961775655227088 4494812255101677188 n

“ข้อมูลครบถ้วน รอบด้าน เป็นกลาง ตามสไตล์หมอดื้อ”

       สำหรับใครที่ได้อ่านบทความ ‘โควิดซ้ำซาก: บทเรียนจากศพและน้ำตา’ โดย ‘หมอดื้อ’ ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ทั้งสามตอน จะพบว่าอัดแน่นไปด้วยข้อมูลของโควิด-19 ตั้งแต่แรกระบาดลากยาวมาถึงการพัฒนาของสายพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งเบื้องหลังนามปากกาหมอดื้อ คอลัมนิสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และสุขภาพบนโลกออนไลน์ก็คือ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้ใช้ทั้งสื่อสาธารณะและแพลตฟอร์มส่วนตัวในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนความรู้จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา

      “สื่อออนไลน์เป็นตัวกลางที่ทำให้ประชาชนรับทราบและเข้าใจถึงสถานการณ์ได้อย่างฉับพลัน ด้วยข้อมูลที่ครบถ้วน รอบด้าน และเป็นกลาง ที่สำคัญคือ ต้องปรับให้เข้ากับข้อจำกัดและบริบทของคนไทย โดยไม่ยึดกับต่างประเทศที่มีสถานการณ์ ทรัพยากรและพฤติกรรมที่แตกต่างออกไป นอกจากนั้น เรายังช่วยขจัดการให้ข้อมูลไม่ครบหรือข้อมูลด้านเดียวทั้งที่มีหรือไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน สิ่งเหล่านี้จะทำให้ประชาชนตาสว่าง สามารถแยกแยะและวิเคราะห์ได้ โดยไม่มีการแบ่งพวก แบ่งกลุ่ม ทั้งนี้เพื่อประโยชน์กับตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศที่มั่นคงในที่สุด”

     “ความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับยอดจำนวนคนอ่าน การแชร์ หรือการเป็นที่รู้จัก แต่อยู่ที่คนไทยต้องตระหนักรู้ถึงการรักษาสุขภาพ การป้องกันโรค และการดูแลตนเอง รวมทั้งชนิดและประเภทของอาหารในสภาวะต่าง ๆ ต้องช่วยกันลดมลพิษสารเคมีในอาหารและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการต่อยอดในอนาคตที่คนไทยต้องร่วมกันคือการสนับสนุนความแข็งแรงของเครือข่ายภาคประชาชนที่จะช่วยให้ระบบต่าง ๆ มีความโปร่งใส มีคุณธรรม และพึ่งตนเองได้”
.
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
—————————

 

321022395 691776945678432 6218736378908987442 n

“ส่งต่อข้อมูลเชิงลึก…ถึงพันธุกรรม”

      จากการวิจัยเรื่องจีโนม (Genome) เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยในอนาคต หน้าที่หลักของ ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ คือการถอดรหัสทางพันธุกรรมที่จะช่วยสร้างกำไรทางสังคมในหลากหลายแง่มุม แต่นอกเหนือจากนั้น หนึ่งในกำไรที่เกิดขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา คือการให้ข้อมูลเชิงความรู้ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพดิจิทัล (Digital Health Literacy) เปลี่ยนความตระหนกให้เป็นความตระหนักผ่านสื่อมวลชนสู่ประชาชนคนไทยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

      “สาเหตุที่เราไม่ทำไลฟ์สดส่งตรงถึงประชาชนนั้น เพราะว่าสื่อมวลชนเป็นตัวกรองที่ดีกว่า สามารถเปลี่ยนข้อมูลที่ซับซ้อนเข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น พวกเขามักจะมาสอบถามตามวิสัย นำความกังวลใจต่าง ๆ ของประชาชนมาถามเรา โดยจุดเปลี่ยนของศูนย์จีโนมฯ มาจากรายการโหนกระแส เมื่อเราให้สัมภาษณ์เรื่องสายพันธุ์ของโควิด-19 พอผ่านคำอธิบายของพิธีกร คุณหนุ่ม-กรรชัย กำเนิดพลอย ก็ทำให้ประชาชนหันมาสนใจกันมากขึ้น”

     “ไม่ว่าโรคระบาดอะไรก็ตาม ต่างจำเป็นที่ต้องถอดรหัสพันธุกรรมให้ ‘รู้เขา รู้เรา’ เพื่อสร้างวัคซีนและการรักษา บวกกับคนไทยยุคปัจจุบันเริ่มส่งเสียงว่า ‘หนึ่งชีวิตของเรา เราขอตัดสินใจเอง’ ดังนั้นเราจึงเน้นให้ข้อมูลแล้วให้ประชาชนเป็นคนตัดสินใจ เห็นได้ชัดเจนจากกรณีฉีดวัคซีน ซึ่งแต่ละคนต่างมีความเหมาะสมกับวัคซีนคนละแบบ เมื่อประชาชนหันมาสืบค้นข้อมูลด้วยตัวเอง เราจึงมองเห็นว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมารุดหน้าอย่างมากในหมู่คนไทย”

ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์
นักวิจัย โรงพยาบาลรามาธิบดี
—————————

 

320885405 654383333100650 8846685684079203101 n

“จาก Big Data สู่การสร้าง Policy”

     จากงานวิจัย ‘การพัฒนาระบบบริการด้านการดูแลภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างครบวงจร’ ที่มีโจทย์ในการเชื่อมต่อการดูแลผู้ป่วยจากโรงพยาบาล บ้าน สู่ชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติได้อีกครั้งหรือลดการเสียชีวิตทั้งจากโรคส่วนบุคคลและภัยพิบัติ ประจวบกับช่วงเวลาดังกล่าว โควิด-19 ก็กำลังเดินทางข้ามพรมแดนมาถึงประเทศไทยและจังหวัดเชียงใหม่ที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทีนี้จะทำอย่างไรที่จะติดตามนักท่องเที่ยวเหล่านั้นให้ได้ง่ายที่สุด คำตอบก็คือการจัดการด้วยฐานข้อมูล

    “ทีมนักวิจัยของเราถนัดเขียนโปรแกรม จึงสร้างเว็บฯ แอปพลิเคชัน ‘เชียงใหม่ชนะ’ ระบบเฝ้าระวังอัจฉริยะสำหรับผู้เดินทางเข้าเชียงใหม่ และแพลตฟอร์มกลาง CMC-19 (CHIANGMAI COVID-19 HOSPITAL INFORMATION SYSTEM) ขึ้นมาเพื่อบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยและผลการตรวจหาเชื้อโรค          ของทุกคน โดยทุกโรงพยาบาลในเชียงใหม่ ทั้งรัฐและเอกชน รวมถึงศูนย์ตรวจทุกจุดจะเข้ามาบันทึกข้อมูลในระบบกลางนี้ ทำให้เรามีฐานข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับติดตามความเคลื่อนไหวภายในจังหวัดแบบรายวันและสามารถนำข้อมูลที่จัดเก็บไว้มาประมาณการประสิทธิผลของวัคซีนต่อการป้องกันการติดเชื้อ  อาการรุนแรง และการเสียชีวิต”

      “เราใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีให้เกิดประโยชน์ หรือที่เรียกว่า Data Utilization ประเทศไทยโดดเด่นในการเก็บข้อมูล แต่ยังใช้ประโยชน์ได้ไม่มาก บทเรียนที่ได้จากโควิด-19 แสดงให้เห็นว่าข้อมูลที่ดีต้องเก็บแล้วนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ คุณภาพข้อมูลที่เราเก็บก็จะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นเช่นกัน และจากนั้นจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ อย่างเช่นข้อมูลบางส่วนที่เราวิเคราะห์ได้จากทั่วเชียงใหม่ซึ่งกลายเป็นมาตรการกำหนดฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 และ 4
ของประเทศไทย”

ศ.เกียรติคุณ ดร.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์
คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
—————————
สำหรับผู้ที่สนใจอ่านชุดหนังสือ ‘เพราะเธอเป็นลมหายใจ’เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าและถอดบทเรียนการทำงานและความร่วมมือของชาว อว.
เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวไทยให้ก้าวผ่านวิกฤติการณ์โรคระบาดโควิด-19 ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา สามารถคลิกอ่านได้ที่
https://bit.ly/MHESIagainstCOVID19

 

เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : [email protected]
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

“ถอดบทเรียนการต่อสู้กับโควิด-19” ภารกิจที่ 9 ข้อมูลวิชาการถูกต้อง รวดเร็ว ฉับไว เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเพื่อตั้งการ์ดให้สังคม “อว. ทำอะไรเพื่อคนไทยบ้าง” ภารกิจที่ 9 ข้อมูลวิชาการถูกต้อง รวดเร็ว ฉับไว

กระทรวงการ อว.

  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • อว.พารับส่วนลด
      • ข่าวและกิจกรรม อว.มอบส่วนลด
      • รวมรายการสินค้าและบริการ
      • ท่องเที่ยว
      • อาหาร
      • บริการ
      • ชอปปิง
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Sitemap
    • Contact
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED. WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.