กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • กฐินพระราชทาน
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • คลังข้อมูล
  • Infographic/Quote

“จากใจชาว อว.” ภารก ...

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
20 Dec 2022

318948338 547949714041353 326265104686693664 n

“จากใจชาว อว.”
ภารกิจที่ 7 งานวิจัย เร่งด่วน ตรงเป้า รวมพลคนวิจัยสู้วิกฤติโควิด-19

     การทำงานวิจัยทั้งเชิงนโยบาย การเรียนรู้ลักษณะและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส รวมถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรม อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ต่าง ๆ นับว่ามีผลอย่างมากต่อการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย โดยงานวิจัยส่วนมากเป็นผลผลิตจากกระทรวงแห่งองค์ความรู้ อย่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่ศึกษาค้นคว้าและผลิตผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือประชาชนคนไทยให้รับมือกับวิกฤติที่เกิดขึ้นและช่วยบรรเทาสถานการณ์ให้ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน

    ผลงานวิจัยทั้งหมดสร้างขึ้นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาอันจำกัด จากความพยายามและความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งเรื่องราวการทำงานในช่วงเวลาวิกฤติที่ผ่านมา กำลังจะได้รับการบอกเล่าผ่าน 8 ตัวแทน จาก 8 หน่วยงานในสังกัดกระทรวง อว. ที่มีบทบาทสำคัญด้านงานวิจัย ซึ่งจะกลายเป็นบทเรียนสำคัญที่ใช้รับมือกับวิกฤติการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป

318732052 547949760708015 1919533249026914178 n

“วช. ปรับตัวรวดเร็วภายใต้สถานการณ์โควิด-19”

     ตั้งแต่มีการระบาดของโรคโควิด-19 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ต้องปรับแผนงานอย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับวิกฤติที่เกิดขึ้น ซึ่งด้วยสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ วช. ต้องปรับแผนงบประมาณการวิจัยเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้โดยเฉพาะ และจากการปรับตัวอย่างรวดเร็วนี้เองที่ทำให้มีผลงานวิจัยหลายชิ้นที่สามารถใช้รับมือกับสถานการณ์วิกฤติได้อย่างทันท่วงที

     “เรื่องที่สำคัญที่สุดของการรับมือโควิด-19 คือความเข้าใจ เพราะโรคนี้เป็นโรคอุบัติใหม่ ความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่จึงถือว่าน้อยมาก ดังนั้นงานวิจัยที่เราจำเป็นต้องทำออกมาอย่างเร่งด่วนคือ การวิจัยด้านระบาดวิทยา เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องการระบาดและการป้องกันการระบาด ผลวิจัยตรงนี้นี่เองที่เป็นหัวใจทำให้เราสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในเวลาต่อมา”

    “ในส่วนต่อมาที่เราต้องรีบวิจัยคือ เครื่องมือป้องกัน อย่างหน้ากากอนามัย หรืออุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ ซึ่งต้องคิดอย่างรวดเร็วว่าอุปกรณ์ใดมีความจำเป็น เพราะมีผลอย่างยิ่งต่อการบรรเทาและควบคุมสถานการณ์ โดยในตอนนั้น เรารีบตัดสินใจโยกงบจากงานวิจัยหลายชิ้นมาลงที่เรื่องโควิด-19 เพราะมองแล้วว่าจำเป็นต่อการควบคุมสถานการณ์ และผลที่ออกมาแสดงให้เห็นแล้วว่า การตัดสินใจที่รวดเร็วส่งผลในแง่บวกได้อย่างมหาศาล”

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง
ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
—————————

318967895 547949824041342 1528176813951014542 n

“สวทช. เมื่อเวลามีค่ามากในยามวิกฤติ”

     งานวิจัยนับเป็นหน้าที่หลักของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ในการช่วยเหลือสังคมไทยในช่วงวิกฤติโควิด-19 โดยมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อลดผลกระทบต่าง ๆ จากสถานการณ์โรคระบาด ที่ถึงแม้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจะปัจจุบันทันด่วนสักแค่ไหน แต่ สวทช. ก็สามารถรับมือได้อย่างทันท่วงทีและมีผลลัพธ์ที่งดงามตามมา

    “สวทช. ใช้ความเชี่ยวชาญของนักวิจัยในแต่ละสาขา เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 อาทิ ระบบบริการทางการแพทย์ทางไกล (A-MED Telehealth) เปลความดันลบเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (PETE) หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงยูวีซี (Girm Zaber) หมวกแรงดันบวก-ลบ (nSPHERE) หน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพสูง (Safie Plus) หน้ากากอนามัย n-Breeze ฯลฯ รวมถึงสนับสนุนการใช้บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเป็นโรงพยาบาลสนามสำหรับผู้พิการ โดย สวทช. ได้แสดงศักยภาพในการสร้าง ‘นวัตกรรม’ อย่างเร่งด่วนและส่งมอบให้เกิดการใช้งาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคมให้มีความปลอดภัยในช่วงเวลาที่ยากลำบาก”

    “ในช่วงโควิด-19 โครงการอะไรที่ตอบโจทย์การช่วยเหลือสังคม เราได้รับอนุมัติจากผู้ใหญ่ให้เดินหน้าอย่างเต็มที่ ความยากของเรื่องนี้มีแค่การทำงานแข่งกับเวลา อย่างงานวิจัยหลายชิ้นที่ต้องใช้เวลาช่วงกลางคืนสรุปงาน ต้องทุ่มเทเพื่อผลลัพธ์ของงาน เพราะในห้วงภาวะวิกฤติตอนนั้น ไม่มีใครรู้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจะไปสิ้นสุดที่ตรงไหน ดังนั้นเวลาจึงมีค่าอย่างมาก ยิ่งงานของเราเสร็จเร็วแค่ไหนก็จะช่วยเหลือสังคมได้เร็วเท่านั้น”

คุณกุลประภา นาวานุเคราะห์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
—————————

318903261 547949877374670 8293732200515048760 n

“สกสว. ปรับแผนรับมือวิกฤติ”

     หน้าที่หลักของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) คือการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และกรอบงบประมาณ เพื่อจัดสรรทุนวิจัยต่าง ๆ ซึ่งในช่วงวิกฤติโรคระบาดที่ผ่านมา สกสว. ได้ปรับเปลี่ยนการใช้งบประมาณตามนโยบายของคณะกรรมการฯ พร้อมกับจัดตั้งโปรแกรมใหม่ เพื่อให้ประเทศไทยมีความพร้อมต่อการรับมือและจัดการกับภาวะวิกฤติได้ดียิ่งขึ้น

    “พอเกิดวิกฤติการณ์โควิด-19 เรามีการปรับการใช้งบประมาณ ให้มีงบราว 10% ไปใช้แก้ไขปัญหาโควิด-19 โดยงบส่วนนี้ถูกนำไปใช้สนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมสำหรับแก้ไขปัญหาโควิด-19 อาทิ อุปกรณ์ เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ รวมถึงการศึกษาเพื่อจัดทำมาตรการการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ขณะเดียวกัน ทุกหน่วยงานที่ทำงานร่วมกันกับเราก็ต้องปรับทิศทางการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของโควิด-19 โดยการเอางานวิจัยไปพัฒนาต่อยอดร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการผลิต ใช้งานได้จริง และเป็นประโยชน์ต่อสังคม”
 
     “สกสว. ยังมีการเพิ่มโปรแกรมที่ 17 การแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศ (National Crisis Management) ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมีเป้าประสงค์ในการใช้ความรู้ การวิจัยและนวัตกรรม เพื่อคาดการณ์ปัญหาและจัดการกับภาวะวิกฤติของประเทศไทยได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเสียหายในระยะสั้น และทำให้สามารถบริหารจัดการประเทศและสังคมหลังภาวะวิกฤติได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว”

รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล
ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
—————————

318740678 547949954041329 8721069271458357769 n

“วว. ช่วยสร้างความมั่นใจในการต่อสู้กับโควิด-19”

       ความไม่เพียงพอของเครื่องมือทางการแพทย์ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนในช่วงแรกเริ่มของวิกฤติโควิด-19 ซึ่งช่องโหว่ตรงนี้เอง เป็นสิ่งที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือ วว. เล็งเห็นและจัดการอุดช่องโหว่ดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที อันส่งผลให้การจัดการกับปัญหาผู้ป่วยล้นที่ตามมาในระยะหลังมีความเสียหายน้อยลง ทั้งยังส่งผลกระทบในแง่บวกต่อการจัดการปัญหาโควิด-19 ในระยะยาวอีกด้วย

      “ตอนที่โควิด-19 เข้ามาแรก ๆ หลายโรงพยาบาลมีห้องแรงดันลบใช้งานไม่เพียงพอ แต่ด้วยความที่ วว. มีความเชี่ยวชาญในเรื่องเทคโนโลยี การตรวจวัดและวิเคราะห์ ทั้งเรื่องแรงดัน การไหลตัวของอากาศ และการตรวจเชื้อโรคในบรรยากาศ ทางเราจึงเข้าไปช่วยปรับปรุงห้องแรงดันบวกเป็นห้องแรงดันลบ ตรวจสอบการรั่วไหลของอากาศ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อออกไปสู่บริเวณอื่น ๆ ในสถานพยาบาล ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้หลาย ๆ องค์กร รวมถึงโรงพยาบาลศิริราช และช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์มีความมั่นใจในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น”

      “นอกจากนี้ ทาง วว. ยังช่วยแก้ปัญหาเรื่องเจลแอลกอฮอล์กับหน้ากากอนามัยขาดแคลน โดยใช้องค์ความรู้ที่มีในการผลิตเจลแอลกอฮอล์และน้ำยาอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) เพื่อฆ่าเชื้อโรค มาผลิตเจลแอลกอฮอล์เพื่อไปแจกจ่ายยังสนามบินและให้กับประชาชนทั่วไป ซึ่งสามารถสร้างความมั่นใจให้กับทั้งคนทำงานในพื้นที่และประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการช่วยให้คนในประเทศสามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้นในช่วงเวลาวิกฤติอีกด้วย”

ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต
ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
—————————

319018375 547950000707991 2059600667129148015 n

“สอวช. นโยบายที่ดีทำให้ทำงานง่ายขึ้น”

     สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สอวช. เป็นสำนักงานที่มีหน้าที่นำเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ รวมถึงแผนด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้กับคณะรัฐมนตรี ซึ่งในช่วงวิกฤติโควิด-19 ทาง สอวช. ได้มีบทบาทสำคัญในการทำงานเชิงนโยบายเพื่อกำหนดทิศทางรับมือกับโควิด-19 ในภาวะที่ทุกฝ่ายต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบาก

     “ในช่วงการระบาดของโควิด-19 เราทำหน้าที่อย่างเต็มที่ในการกำหนดนโยบายเชิงบริหารไปถึงการอุดมศึกษา และหน่วยงาน SME ต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังได้ทำถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือภาคประชาชน ดูแลนิสิตนักศึกษา รวมถึงคนที่ทำงานในโรงงาน โดยหวังจะช่วยเหลือให้ทุกภาคส่วนสามารถดำเนินชีวิตได้ง่ายขึ้นในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้”

     “เรามีความเป็นห่วงทุกภาคส่วน โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษาที่ยังเรียนกันอยู่ จึงประสานงานให้มีการสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและกำหนดนโยบายให้มีการสนับสนุนพวกเขา ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม เพื่อหวังให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตเดินหน้าต่อไปได้ เพราะหน้าที่หลักของเราคือ การกำหนดนโยบาย ซึ่งอาจไม่ได้ลงมือทำงานวิจัยเหมือนหน่วยงานอื่น ๆ แต่นโยบายที่ดีก็มีส่วนทำให้ทุกฝ่ายทำงานได้ง่ายขึ้นในช่วงเวลาวิกฤติ ตอนนั้น สอวช. จึงพยายามอย่างเต็มที่ในการพูดคุยและกำหนดทิศทาง เพื่อให้ทุกอย่างเดินหน้าไปได้ด้วยดี”

ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์
ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
—————————

318797225 547950080707983 84333371016778733 n

“TDRI วิจัยเชิงปฏิบัติการรับมือวิกฤติ”

       ในช่วงวิกฤติโควิด-19 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ตัดสินใจเดินหน้าทำ ‘วิจัยเชิงปฏิบัติการ’ (Action Research) แทนการวิจัยทั่วไป เพื่อตอบสนองต่อปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ได้ข้อสรุปที่ทันต่อสถานการณ์ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยงานวิจัยของ TDRI หลายชิ้นมีส่วนสำคัญต่อการกำหนดทิศทางทางสังคม

      “ต้องเข้าใจก่อนว่า สถานการณ์โควิด-19 ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นเราไม่มีบทเรียนในการรับมือจึงไม่มีแนวทางที่ชัดเจนว่าจะรับมืออย่างไร ซึ่งทำให้ไม่สามารถทำงานวิจัยแบบเดิมได้ เราจึงใช้วิธีหากรณีเทียบเคียง โดยการใช้ข้อมูลจากต่างประเทศและลงพื้นที่ศึกษา เพื่อให้ท้ายที่สุดได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและเป็นกลาง ที่สำคัญคือต้องรวดเร็วเพียงพอ เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเปลี่ยนแปลงไปในทุกวัน”

      “ผลงานเด่น ๆ ของ TDRI คือเรื่องของเศรษฐกิจและสังคม เพราะเราเป็นสถาบันวิจัยในด้านนี้ ดังนั้นเราจะไม่ได้แตะด้านสุขภาพมากนัก ส่วนแรกที่เราสะท้อนให้เห็นจากงานวิจัยคือ เรื่องของงบประมาณ โดยเราออกมากระตุ้นเตือนภาครัฐให้เน้นไปที่การจัดหาวัคซีน อีกส่วนคือ เรายังติดตามไปในส่วนของการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐว่า โครงการของรัฐทำงานได้ดีแค่ไหน ที่ถึงแม้ว่าภาครัฐอาจจะไม่ได้นำข้อเสนอของเราไปใช้ทั้งหมด แต่เมื่อเสียงของเราส่งไปถึงและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย สิ่งเหล่านั้นก็สามารถสะท้อนกลับมาช่วยเหลือประชาชนที่กำลังยากลำบากได้เหมือนกัน”

ดร.นณริฏ พิศลยบุตร
นักวิชาการอาวุโส
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
—————————

318772258 547950144041310 3284611251119143872 n

“SICRES ศึกษา วิจัย เพื่อความมั่นใจในการฉีดวัคซีน”

      โควิด-19 เป็นโรคระบาดครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบไปทั่วประเทศ การมีผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดมาทำงานวิจัยศึกษาและให้คำแนะนำ จึงเป็นการช่วยทำให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับวิกฤติครั้งนี้ได้ดียิ่งขึ้น ดังที่ ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก หรือ SICRES ได้ชี้นำสังคมไทยด้วยความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย โดยอาจารย์ยืนยันมาตั้งแต่แรกเริ่มว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นเครื่องมือสำคัญของการต่อสู้กับโรคระบาดครั้งนี้

      “ที่ผ่านมา เราเจอกับโรคระบาดใหญ่ ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งวัคซีนคือ ทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ในฐานะคนทำงานด้านวัคซีน ทำให้รู้ชัดว่า วัคซีน คือคำตอบสุดท้ายของการจัดการโรคโควิด-19 โดยในระยะแรกมีวัคซีนเพียงซิโนแวคกับแอสตราเซเนกา ต่อมาจึงมีวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ เราจึงได้เห็นข้อมูลเปรียบเทียบเชิงลึกระหว่างวัคซีนแต่ละชนิด ซึ่งการอาศัยความชำนาญพิเศษของอาชีพแพทย์สาขาโรคติดเชื้อเด็ก ร่วมกับทีมแพทย์และนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านอื่น ๆ ทำให้เราสามารถศึกษาวัคซีนเหล่านี้ และผลการศึกษาก็ถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนต่อไป”

      “มีหลายคนที่มาขอบคุณ ทั้งส่วนตัวและขอบคุณผ่านโซเชียลมีเดีย เพราะเราได้ให้ข้อมูลวัคซีนที่เป็นประโยชน์สู่สาธารณะ จนเกิดความกระจ่าง ทำให้เขาตัดสินใจไปรับวัคซีนและปลอดภัยจากโรค ตรงนี้เป็นสิ่งที่ดีใจที่ได้ทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม อีกเรื่องที่ดีใจมากคือ การเห็นยอดผู้เสียชีวิตลดลงโดยตลอด ตรงนี้ต้องบอกเลยว่า เป็นเพราะคนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีน แม้วัคซีนจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% แต่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง ไม่เจ็บป่วยหนัก หรือถึงขั้นเสียชีวิต”

ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (SICRES)
—————————

318740138 547950200707971 1600419780711388942 n

“ChulaCov19 กับการพัฒนาวัคซีนสัญชาติไทย”

       จุฬาคอฟไนน์ทีน (ChulaCov19) เป็นเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) วัคซีนสัญชาติไทย สำหรับป้องกันโรคโควิด-19 เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากทางรัฐบาลอย่างเต็มที่ ข่าวดีคือ ขณะนี้สามารถผลิตในประเทศไทยได้แล้ว และกำลังทดสอบในอาสาสมัคร โดยหวังว่า จะสามารถขึ้นทะเบียนวัคซีนรุ่นที่ 2 และนำมาใช้ได้ภายในปีหน้า

      “เป้าหมายตอนแรกคือ ทดสอบในอาสาสมัครให้เรียบร้อยและขึ้นทะเบียน ChulaCov19 รุ่นแรก ภายในปี 2565 แต่เกิดความล่าช้ากว่าแผนมาก เนื่องจากระบบขั้นตอนการพิจารณาในประเทศยังไม่คล่องตัว จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นการพัฒนาและผลิตเพื่อทดสอบวัคซีนรุ่นที่ 2 สำหรับเชื้อสายพันธุ์ใหม่แทน โดยคาดว่า จะสามารถขึ้นทะเบียนและนำมาใช้ได้ภายในปลายปี 2566”

      “ความยากของเรื่องนี้อาจเป็นความยากเชิงระบบ แต่การที่เราคิดค้น พัฒนา และหาเอกชนไทยมาผลิตวัคซีนด้วยตัวเองได้ จะทำให้เรามีโครงสร้างการผลิตวัคซีนด้วยตัวเองอย่างครบถ้วน เพราะธรรมชาติแล้วโรคระบาดมักจะมาทุก ๆ 7 ปี การที่เราสามารถผลิตวัคซีนด้วยตัวเองได้อย่างครบวงจร จะทำให้ในอนาคต ถ้ามีโรคระบาดมาอีก เราจะสามารถยืนได้ด้วยลำแข้งของตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาหรือรอความช่วยเหลือจากต่างประเทศอีกต่อไป”

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19
ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
—————————

สำหรับผู้ที่สนใจอ่านชุดหนังสือ ‘เพราะเธอเป็นลมหายใจ’ เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าและถอดบทเรียนการทำงานและความร่วมมือของชาว อว. เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวไทยให้ก้าวผ่านวิกฤติการณ์โรคระบาดโควิด-19 ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา สามารถคลิกอ่านได้ที่ https://bit.ly/MHESIagainstCOVID19

 

เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

“ถอดบทเรียนการต่อสู้กับโควิด-19” ภารกิจที่ 7 งานวิจัย เร่งด่วน ตรงเป้า เรียนรู้จากวิกฤติสู่อนาคตอันสดใส “อว. ทำอะไรเพื่อคนไทยบ้าง” ภารกิจที่ 7 งานวิจัย เร่งด่วน ตรงเป้า

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • กฐินพระราชทาน
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.