กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • กฐินพระราชทาน
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • คลังข้อมูล
  • Infographic/Quote

“จากใจชาว อว.” ภารก ...

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
19 Dec 2022

318766415 547938567375801 5948425069727645550 n

318767620 547938764042448 3303439976275185307 n

“Bottom-Up Approach”

      วิกฤติโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อนิสิตนักศึกษากว่า ล้านคนทั่วประเทศ ‘การเรียนออนไลน์’ ถือเป็นวิชาภาคบังคับที่ต้องเจอ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีความพร้อม ทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จึงต้องบรรเทาความทุกข์ยากของนิสิตนักศึกษาให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยเริ่มจากการหารือกับรัฐบาล กระทรวง อว. รวมถึงมหาวิทยาลัยในสังกัดถึงมาตรการช่วยเหลือ ซึ่งท้ายที่สุด สามารถช่วยเหลือนักศึกษาได้มากกว่า 1 ล้านคน

      “เคล็ดลับความสำเร็จคือ สปิริตของทุกคนที่ร่วมกันทำงานอย่างรวดเร็ว รับฟังปัญหา และความคิดเห็นที่สะท้อนมาจากระดับปฏิบัติงานสู่ผู้บริหาร (Bottom-Up Approach) ให้สามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที มองเหตุการณ์ไปข้างหน้า อย่างเรื่องการเรียนออนไลน์ แต่ละมหาวิทยาลัยมีการเตรียมพร้อมไว้ในระดับหนึ่ง พอวิกฤติมาถึงจึงเป็นโอกาสในการกระตุ้นให้มหาวิทยาลัยกระตือรือร้นมากขึ้น บางแห่งใช้เวลาเพียงสัปดาห์เดียวก็พร้อมสอนออนไลน์ ขณะที่บางแห่งอาจมีความพร้อมไม่มากนัก แต่ด้วยใจที่จะช่วยเหลือนักศึกษาและเอาความเดือดร้อนของผู้เรียนเป็นที่ตั้ง มาตรการต่าง ๆ จึงสำเร็จได้ด้วยดี”

      “เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกได้จริง ๆ เราต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมด้านการสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ ทั้งทางด้านไบโอเทคโนโลยีและด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งกระทรวง อว. นับเป็นองค์กรที่มีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาคนและนวัตกรรมเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน ขณะที่ภาคประชาสังคมก็ต้องมีการเตรียมความพร้อม โดยคำนึงถึงหลัก ‘จำเป็นต้องทำ’ (Need to do) ก่อน ‘ทำก็ดี’ (Nice to do) เพื่อประเมินสิ่งที่เราต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับวิกฤติให้ดีที่สุด”

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
—————————

319017565 547938797375778 1772167236726128328 n

“ราชภัฏเพื่อชุมชนท้องถิ่น”

      มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งมีปณิธานในการทำงานเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ดีขึ้น ยิ่งในวิกฤติโควิด-19 ที่ทุกคนได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า มหาวิทยาลัยที่ถือเป็นแหล่งรวมใจของนักศึกษา บุคลากร และคนท้องถิ่น จึงต้องเร่งช่วยเหลือทุกคนอย่างเต็มกำลังผ่านการระดมผู้เชี่ยวชาญที่มีความโดดเด่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่งมารวมตัวกันและแบ่งงานกันทำอย่างชัดเจน ทั้งมาตรการการเรียนออนไลน์ การเยียวยานักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการ บุคลากร และชุมชน ให้ทุกคนรอดพ้นจากวิกฤติไปด้วยกัน

      “จุดแข็งของมหาวิทยาลัยราชภัฏคือ การมีเครือข่ายที่เข้มแข็งและการทำงานใกล้ชิดกับชุมชน เมื่อเกิดปัญหาจึงทำให้ประสานงานกันได้ง่าย ปัญหาต่าง ๆ ได้รับแก้ไขอย่างราบรื่นและรวดเร็ว ประกอบกับความทุ่มเทของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วนที่ลงพื้นที่ช่วยเหลือชุมชนกันทุกวันโดยไม่กลัวโควิด-19 โรคภัยไข้เจ็บจึงไม่สามารถเป็นกำแพงที่จะมาสกัดกั้นการทำงานของพวกเราได้ เพราะทุกคนพร้อมที่จะปรับตัวตามสถานการณ์ แม้ช่วงแรกจะมีความกังวลอยู่บ้าง เเต่เมื่อสื่อสารทำความเข้าใจกันแล้ว ทุกคนก็ยินดีทำงานให้ลุล่วง”

      “สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวิกฤติครั้งนี้คือ ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา สถานศึกษาจึงไม่สามารถหยุดนิ่งหรือทำอะไรอย่างเชื่องช้าได้ ต้องออกจากพื้นที่ปลอดภัย (Comfort Zone) และมองออกไปข้างนอกให้กว้างขึ้น เพื่อวางแผนให้ไกลขึ้น อะไรที่ล้าสมัย ใช้การไม่ได้แล้ว อย่าไปนึกถึงหรือเสียดาย อย่างบางหลักสูตรที่มีมายาวนาน แต่ไม่ได้ปรับการเรียนการสอนให้เข้ากับปัจจุบันก็ถึงเวลาที่ต้องปิดตัวลง และหันมาสนับสนุนหลักสูตรด้านเทคโนโลยีให้มากขึ้น เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคตต่อไป”

ผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา
ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.)
—————————

 

319217012 547938840709107 5937811778456315492 n

“วิกฤติสอนวิชาคุณค่าแห่งการทำเพื่อส่วนรวม”

      บทบาทของสถานศึกษา นอกจากจะเป็นแหล่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพและมีความสุขแล้ว ยังจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วและไม่หวั่นไหวต่อภาวะวิกฤติด้วย ซึ่งด้วยการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเทคโนโลยี ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลจึงได้ออกแบบระบบที่มีความมั่นคงรอบด้าน เพื่อให้นักศึกษาผู้เป็นหัวใจสำคัญของสถานศึกษาสามารถเดินหน้าศึกษาต่อไปได้อย่างเป็นปกติ ซึ่งโชคดีที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง มีการปูพื้นฐานเรื่องเหล่านี้ไว้บ้างแล้ว ตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดวิกฤติโควิด-19

        “เราเตรียมความพร้อมเรื่องทุนการศึกษาเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาไว้อยู่แล้ว เมื่อเกิดการเเพร่ระบาดในแต่ละระลอก ครอบครัวนักศึกษาจำนวนมากได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจทันที ไม่มีรายได้หมุนเวียนในครอบครัว มหาวิทยาลัยจึงจัดสรรทุนเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัว ขนานไปกับการทำโครงการ Part-Time Job เพื่อช่วยให้นักศึกษามีรายได้ระหว่างเรียน ขณะที่ประสิทธิภาพของการเรียนออนไลน์ เราได้จัดทำระบบไอที DLearn เพื่อรองรับการเรียนการสอนและฐานข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งช่วยให้นักศึกษาไม่มีอุปสรรคในการเรียนรู้ แม้จะอยู่ในช่วงภาวะวิกฤติก็ตาม”

       “งานทุกอย่างสำเร็จได้ เพราะทุกคนพร้อมรับผิดชอบและทำงานกันอย่างเต็มกำลัง มองว่าสิ่งนี้คือ การสอนที่ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง จะทำให้ลูกศิษย์ของเราได้เรียนรู้ถึงความทุ่มเท ความมีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการเสียสละเพื่อสังคม ที่วันหนึ่ง หากพวกเขามีโอกาสที่จะทำประโยชน์เพื่อสังคม จะได้ทำทันที และเห็นถึงคุณค่าของการทำเพื่อส่วนรวมซึ่งสอดคล้องกับปณิธานของมหาวิทยาลัยที่ตั้งใจจะผลิตบัณฑิตออกไปเพื่อพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ไม่ว่าเจอวิกฤติที่รุนแรงแค่ไหนก็ตาม”

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด
ประธานที่ประชุมคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.)
—————————

 

318952499 547939140709077 9030315805030351336 n

“การศึกษาที่มองทิศทางโลก”

       สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) ถือเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ทำงานเพื่อสังคมมาโดยตลอด ควบคู่ไปกับการดูแลนักศึกษากว่า 200,000 ชีวิต ในสถาบันการศึกษากว่า 70 แห่งทั่วประเทศ โดยวิกฤติโควิด-19 นับเป็นอีกหนึ่งห้วงเวลาที่ยืนยันการทำงานเพื่อส่วนรวมของ สสอท. กับการระดมความช่วยเหลือนักศึกษาและสังคมด้วยความตั้งใจเต็มที่ ชวนกันคิดชวนกันทำ จนผลงานออกมาสำเร็จราบรื่น สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ทราบว่า ไม่ว่าอนาคตจะยากสักแค่ไหน หากร่วมใจกันก็สามารถผ่านพ้นทุกวิกฤติไปได้อย่างสวยงาม

      “ในอนาคต เราอาจเจอวิกฤติอื่น ๆ อีกมากมาย การทำงานในมิติของอุดมศึกษาจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีคิด การเรียนการสอนต้องพัฒนาควบคู่ไปกับทิศทางของโลก ต้องตอบให้ได้ว่าเรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วตอบโจทย์โลกอย่างไร ช่วยลดผลกระทบเชิงลบได้มากน้อยแค่ไหน หรือนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือไม่ แต่ละสถานศึกษาควรมีการเรียนรู้เชิงโปรเจกต์ให้มากขึ้น ให้นิสิตนักศึกษาได้ทดลองปฏิบัติและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง สิ่งนี้จะฝึกให้พวกเขามีพื้นฐานรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแน่นอน”

      “กระทรวง อว. ถือว่ามีบทบาทอย่างมากในการขับเคลื่อนทิศทางประเทศ เพราะมีสถานศึกษา โรงเรียนแพทย์ และหน่วยงานวิจัยครอบคลุมเกือบทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สิ่งที่อยากเสนอแนะเพิ่มเติมหลังจากได้เรียนรู้จากวิกฤติโควิด-19 คือ ควรให้แต่ละมหาวิทยาลัยที่เดิมทีมีการประชุมเครือข่ายย่อย ๆ อยู่แล้ว 4-5 เครือข่าย ทำงานร่วมกับหน่วยงานของ อว. อย่างใกล้ชิดมากขึ้น ผ่านการสร้างพื้นที่การทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง เพื่อการทำงานที่กระชับ ฉับไว และมีประสิทธิภาพ”

ดร.พรชัย มงคลวนิช
นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.)
—————————

318608541 547939220709069 7687492429957715918 n

“สื่อสารข้อมูลฉับไว เพื่อความปลอดภัยของทุกคน”

      โควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ยังไม่มีข้อมูลมารองรับ แต่ในฐานะของอธิการบดีมหาวิทยาลัยนั้น ไม่สามารถรอเวลาให้ทุกอย่างพร้อมก่อนถึงจะเริ่มงานได้ ดังนั้นจึงต้องค้นคว้าและประสานข้อมูลกับทุกมหาวิทยาลัยอย่างรวดเร็ว เพื่อความปลอดภัยของนักศึกษาและบุคลากร โดยสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกคือ การสื่อสารในภาวะวิกฤติที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกคนได้รับทราบข้อเท็จจริง สร้างความเข้าใจ และเปลี่ยน ‘ความตระหนกเป็นตระหนัก’ เมื่อทุกคนเห็นปัญหาตรงกันก็เริ่มงานได้ทันที แม้ว่าสถานการณ์จะทำให้ต้องห่างกันแค่ไหนก็ตาม

      “เราประชุมติดตามแผนบริหารงานอย่างต่อเนื่องระหว่างบุคลากรและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย โดยศึกษาเคสที่ประสบความสำเร็จมาใช้ทำงานต่อ ปรับการทำงานและการเรียนการสอนเป็นระบบดิจิทัลทั้งหมดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ขนานไปกับการจัด Town Hall Meeting เพื่อสื่อสารกับนักศึกษาและผู้ปกครองเป็นระยะ ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าเราสามารถจัดการเรียนการสอนและดูแลพวกเขาได้อย่างครบถ้วน ซึ่งการพูดคุยติดตาม ทำให้รู้ว่านักศึกษาหรือผู้ประกอบการในมหาวิทยาลัยมีปัญหาอย่างไร จะได้วางแผนช่วยเหลือทุกเรื่องได้อย่างทันท่วงที”

      “เหตุการณ์ที่ประทับใจและลืมไม่ลงตลอดช่วงสถานการณ์โควิด-19 คือความพร้อมเพรียงในการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัย ทุกคณะต่างส่งความปรารถนาดีถึงกัน ร่วมใจกันทำงาน ทั้งคิดค้นนวัตกรรมใหม่ พัฒนาวัคซีน หรือให้การดูแลรักษาที่ครอบคลุมไปถึงชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ใช้ศักยภาพที่มีอย่างเต็มความสามารถ ซึ่งได้เรียนรู้ว่า เมื่อเราผ่านโจทย์ยาก ๆ มาแล้ว ยิ่งจำเป็นต้องเร่งพัฒนาเพื่ออุดช่องโหว่ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ทั้งเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน การสื่อสาร รวมถึงการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว”

ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
—————————

 

318998415 547939260709065 4334708236268162857 n

“นวัตกรรมแห่งการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน”

      หน้าที่ของอุทยานวิทยาศาสตร์ส่วนภูมิภาคคือการสนับสนุนผู้ประกอบการในการทำวิจัยหรือนวัตกรรมเพื่อธุรกิจ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานผ่านการส่งเสริมงบประมาณ ห้องแล็บ และโรงงานผลิตสินค้าตัวอย่าง โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) จะทำงานร่วมกับ 44 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เพื่อให้สามารถใกล้ชิดกับผู้ประกอบการในแต่ละภูมิภาคให้ได้มากที่สุด ซึ่งในช่วงโควิด-19 มีผู้ประกอบการจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบ สป.อว. จึงมีมาตรการยกเว้นค่าบริการ ช่วยหาช่องทางจัดจำหน่ายสินค้า ตลอดจนช่วยทำการตลาดออนไลน์ให้ด้วย

    “ผู้ประกอบการที่เราสนับสนุนอยู่ หลายรายทำธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่สามารถทำให้สถานการณ์โควิดดีขึ้นได้ อาทิ ผู้ผลิตเครื่อง UVC ฆ่าเชื้อโควิดแบบสั่งการทางไกลที่ช่วยลดการสัมผัสก็ผลิตเครื่อง UVC ส่งต่อให้กับทางโรงพยาบาล โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือแม้แต่ธุรกิจเดลิเวอรีของผู้ประกอบการ ที่เราเข้าไปช่วยเหลือเรื่องการขนส่งยาและอาหารให้ผู้ป่วยที่รักษาตัวที่บ้านหรือผู้ที่ต้องกักตัว โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เหล่านี้คือ ตัวอย่างความประทับใจจากการช่วยเหลือสังคมร่วมกับผู้ประกอบการ สะท้อนให้เห็นว่าในยามวิกฤติพวกเขาก็กลับมาช่วยเหลือกัน ไม่ทอดทิ้งไปไหน”

    “เจ้าหน้าที่ทุกคนพร้อมปรับตัวเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ จากที่ก่อนมีโควิด-19 จะช่วยผู้ประกอบการพัฒนานวัตกรรมควบคู่กับความรู้ด้านธุรกิจ แต่ช่วงโควิดได้หันมาเน้นด้านการตลาดเป็นหลัก เพื่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการ แม้เป็นความยืดหยุ่นที่เราพร้อมงัดศักยภาพออกมาใช้อย่างเต็มที่ แต่จะดีกว่ามาก ถ้ามีเวลาเตรียมพร้อมมากกว่านี้ วิกฤตินี้จึงสอนว่า การทำงานอย่างเป็นระบบและมีเครือข่ายที่ดี จะช่วยสานพลังให้เกิดประโยชน์อย่างทวีคูณ นอกจากนั้น วิกฤติยังทำให้เราเห็นภาพที่กว้างขึ้น อะไรที่สามารถต่อยอดไอเดียให้เป็นโอกาสในอนาคตได้ก็ควรเริ่มวางเเผนและเตรียมพร้อมกันตั้งแต่วันนี้”

คุณทิพวัลย์ เวชชการัณย์
ผู้อำนวยการกลุ่มอุทยานวิทยาศาสตร์
กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)
—————————
สำหรับผู้ที่สนใจอ่านชุดหนังสือ ‘เพราะเธอเป็นลมหายใจ’ เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าและถอดบทเรียนการทำงานและความร่วมมือของชาว อว. เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวไทยให้ก้าวผ่านวิกฤติการณ์โรคระบาดโควิด-19 ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา สามารถคลิกอ่านได้ที่ https://bit.ly/MHESIagainstCOVID19 

 

เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

“ถอดบทเรียนการต่อสู้กับโควิด-19” ภารกิจที่ 6 เยียวยานิสิต นักศึกษา ผู้ประกอบการ Hybrid, Project-Based & Lifelong Learning อว. เผยกุญเเจสำคัญ สู่การเป็นประเทศที่พัฒนาเเล้ว ภายในปี 2580

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • กฐินพระราชทาน
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.