กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • กฐินพระราชทาน
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • คลังข้อมูล
  • Infographic/Quote

“จากใจชาว อว.” ภารก ...

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
08 Dec 2022

317889356 543480271154964 2491311618666004426 n

 

“จากใจชาว อว.”
ภารกิจที่ 2 โรงพยาบาลสนาม อว. กองหนุนขนาดยักษ์
โรงพยาบาลสนาม ทีมกองหนุนเสริมทัพสาธารณสุขไทยในวิกฤติโควิด-19

      จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกระลอก ตั้งแต่ระลอกแรกในช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ปี 2564 จนถึงกลางปี 2565 ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 4.65 ล้านคน โดยในช่วงที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรงส่งผลให้ระบบบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลหลักไม่สามารถรองรับผู้ป่วยติดเชื้อได้อย่างเพียงพอ โรงพยาบาลสนามและศูนย์แยกกักชุมชน สังกัดกระทรวง อว. ทั้ง 74 แห่งทั่วประเทศ จึงถือกำเนิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง

      โรงพยาบาลสนามแต่ละแห่งที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานทางการแพทย์ เกิดจากการทำงานร่วมกันอย่างหนักของหลายหน่วยงานในพื้นที่ และการมีทีมเวิร์กที่ดีทำให้โรงพยาบาลสนามหลายแห่งใช้เวลาจัดตั้งเพียง 1-2 วันก็สามารถเปิดรับผู้ป่วยจากโรงพยาบาลหลักได้ในทันที โดยบทสัมภาษณ์ต่อจากนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของตัวอย่างการทำงานที่ถ่ายทอดผ่านประสบการณ์ของผู้บริหาร 5 โรงพยาบาลสนามหลักของประเทศ และอีก 1 หน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าใจและเรียนรู้ถึงบทเรียนต่าง ๆ จากวิกฤติครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี
—————————

 

317361792 543480341154957 3670272184127414226 n


2-01
“ต้นแบบโรงพยาบาลสนาม”

      “ธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน” เป็นอุดมการณ์ของชาวธรรมศาสตร์ที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น วิกฤติโควิด-19 จึงเป็นโอกาสที่ลูกแม่โดมจะได้ช่วยเหลือสังคมไทยให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน โดยทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้วางแผนการทำงานอย่างเร่งด่วนและรัดกุม ตั้งคณะทำงาน ประเมินสถานการณ์ รวมถึงคิดค้นนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ที่สำคัญคือการตัดสินใจจัดตั้งโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ เพื่อรองรับผู้ป่วยและสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชน โดยเป็นโรงพยาบาลสนามแห่งแรกและกลายเป็น ‘ต้นแบบ’ การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามของประเทศไทยในที่สุด

      “เราทำงานร่วมกับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติอย่างเป็นเนื้อเดียว จัดระบบการดูแล ส่งต่อ และเปิดสถานที่รองรับผู้ป่วย โดยใช้เวลาดำเนินการเพียง 2 วันก็สามารถเปิดรับผู้ป่วยได้ทันที 308 เตียง ทำหน้าที่รับช่วงต่อในกลุ่มผู้ป่วยที่มีเริ่มมีอาการดีขึ้นแล้วจาก 5 โรงพยาบาลใหญ่สังกัดโรงเรียนแพทย์ พร้อมทั้งเปิดศูนย์ฉีดวัคซีนที่สามารถรองรับผู้ใช้บริการได้ถึงวันละ 3,000 คน ขณะเดียวกัน เรายังให้ความสำคัญต่อการใช้องค์ความรู้ งานวิจัย รวมถึงทรัพยากรของมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ สำหรับดูแลประชาชนในช่วงวิกฤติอีกด้วย”

      “เราภูมิใจที่ได้รับผิดชอบต่อสังคมและก้าวออกมารับรองความมั่นคงปลอดภัยของระบบสาธารณสุขของประเทศไทยถึงความพร้อมในการดูแลสถานการณ์การระบาดของโรคอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อนำพาทุกคนให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ นอกจากแพทย์และพยาบาลที่ทำงานอย่างเต็มที่แล้ว เรายังมีทีมจิตอาสาธรรมศาสตร์ที่คอยสนับสนุนภารกิจ ช่วยแบ่งเบาการทำงานของทีมแพทย์ เพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างครอบคลุม ครบถ้วน และสะดวกสบาย ให้สมกับการเป็น ‘มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน’ ด้วยหัวใจอย่างแท้จริง”

รศ.เกศินี วิฑูรชาติ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
—————————

 

318018475 543480397821618 4116504448006947291 n


2-02
“บทบาทมหาวิทยาลัยแห่งเทคโนโลยีในภาวะวิกฤติ”

      ในช่วงหนึ่งที่มีผู้ป่วยจำนวนมากจนเกินกำลังของโรงพยาบาลหลัก สถานที่ที่เป็นที่พึ่งของผู้ป่วยและช่วยเพิ่มความมั่นใจในการดูแลรักษาให้กับประชาชนได้ คงหนีไม่พ้น ‘โรงพยาบาลสนาม’ ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) แม้ไม่ได้เปิดหลักสูตรด้านการแพทย์ แต่ด้วยสถานการณ์การติดเชื้อในจังหวัดปทุมธานีที่พุ่งสูงขึ้น จึงได้มีการเตรียมความพร้อมด้านสถานที่และประสานความร่วมมือจากโรงพยาบาลในพื้นที่จนสามารถเปิดโรงพยาบาลสนามภายในมหาวิทยาลัยได้ โดยใช้เวลาเพียง 2 วัน

       “พื้นที่หอพักนักศึกษาและโรงยิมถูกเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลสนาม จำนวน 270 เตียงได้ด้วยน้ำใจจากทุกภาคส่วน อีกทั้งผู้ป่วยยังได้รับการดูแลอย่างดี เพราะเรามีเครือข่ายที่เข้มแข็งจนสามารถขยายการช่วยเหลือไปยังโรงพยาบาลธัญบุรี และตั้งโรงพยาบาลสนามแห่งใหม่ที่วิทยาเขตปราจีนบุรีได้อีกด้วย แม้ตอนแรกจะมีคนไม่เห็นด้วย แต่เมื่อทุกคนเข้าใจว่านี่เป็นโอกาสจะได้ตอบแทนประเทศและได้เรียนรู้จากภาวะวิกฤติ ทำให้ทุกคนผลักดันความกลัวออกไปและมาช่วยกันทำงาน ใช้ความรู้ ความสามารถ และความเสียสละเพื่อส่วนรวม”

        “เราได้นำเทคโนโลยีมาทำงานหลายส่วน ทั้งเรื่องฐานข้อมูลผู้ป่วย กล้องวงจรปิด รวมถึงเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ที่มาช่วยอำนวยความสะดวกการทำงานให้ราบรื่นยิ่งขึ้น อีกทั้งภารกิจนี้ยังช่วยกระตุ้นให้เราอยากพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อรองรับกับปัญหาหรือวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้ดียิ่งขึ้น เพราะเราไม่อยากมีภาพจำความร้ายแรงของวิกฤติ ที่รถพยาบาลวิ่งเข้า-ออกทั้งวัน แม้เราจะรับมือได้ดี ทุกคนปลอดภัยได้กลับบ้าน และไม่มีใครเสียชีวิตก็ตาม”

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
—————————

 

 

317857436 543480527821605 4257291506521473240 n


2-03
“จากความกังวลสู่การแก้ปัญหาให้ชุมชน”

      แรกเริ่มการก่อตั้งโรงพยาบาลสนามของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีนั้น เต็มไปด้วยความกังวลของบุคลากรและชุมชนโดยรอบ เพราะหวาดกลัวต่อการแพร่ระบาด แต่ด้วยปณิธานของความเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นบวกกับจุดแข็งของมหาวิทยาลัยที่ทำงานเป็นเครือข่ายกับชุมชนมาโดยตลอด จึงสามารถสร้างความเข้าใจ ทั้งเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย ระยะห่างจากชุมชน และภาวะโรค จนทำให้ความกังวลใจคลี่คลายลงไปได้ และในที่สุดโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ก็ได้ช่วยเหลือผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวชุมชนในพื้นที่

      “โรงพยาบาลสนาม จำนวน 1,560 เตียง ได้ให้บริการผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลในพื้นที่ไปกว่า 10,000 คน รวมถึงการเปิดศูนย์ฉีดวัคซีนต่อเนื่อง บริการพี่น้องประชาชนมากกว่า 9,000 คน นับเป็นงานใหญ่ที่เราไม่เคยทำ แต่ก็ประสบความสำเร็จได้ด้วยใจที่อยากทำเพื่อส่วนรวมของทุกคน นำอุปสรรคและประสบการณ์การทำงานแต่ละวันมาเรียนรู้และพัฒนางานในวันถัดไปให้ดียิ่งขึ้น จนโรงพยาบาลหลายแห่งติดต่อขอให้บุคลากรของเราไปช่วยจัดระบบการอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับผู้ป่วยและผู้ฉีดวัคซีน”

       “เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เห็นภาพชัดว่า คนราชภัฏมีจิตอาสา ฝ่าฟันความกลัวและความกังวล รวมถึงเสียสละเพื่อช่วยเหลือส่วนรวมผ่านเครือข่ายที่ทำงานกันอย่างเข้มแข็ง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ผ่านวิกฤติมาได้ แม้ไม่มีความถนัดเฉพาะด้าน ทางการแพทย์หรือพยาบาลก็ตาม ซึ่งเรื่องนี้ทำให้เรารู้เลยว่ายังมีจำนวนพยาบาลไม่เพียงพอ จึงเกิดแนวคิดที่จะเปิดหลักสูตรพยาบาลในมหาวิทยาลัย เพื่อผลิตบุคลากรช่วยรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ตอนนี้ได้หารือกับโรงพยาบาลในพื้นที่แล้วซึ่งทุกโรงพยาบาลก็ยินดีเปิดพื้นที่ให้ฝึกฝนด้วย”

ผศ.ดร.ยุวลักษณ์ เวชวิทยาขลัง
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
—————————

 

 

317809091 543480611154930 6153293054220324598 n


2-04
“ต่อยอดสู่สมุนไพรทางการแพทย์”

      เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ โดยในช่วงเดือนเมษายน 2564 ที่สถานการณ์การแพร่ระบาดรุนแรงจนโรงพยาบาลหลักในเชียงใหม่ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้อีกต่อไป ทางจังหวัดจึงติดต่อมายังมหาวิทยาลัยแม่โจ้เพื่อขอใช้พื้นที่จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม แม้ไม่มีประสบการณ์และไม่ได้เปิดการเรียนการสอนทางด้านการแพทย์และพยาบาล แต่ด้วยชีวิตและความปลอดภัยของประชาชน ทางมหาวิทยาลัยจึงรีบประชุมด่วน และในที่สุดก็เปิดโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 2 ของจังหวัด ได้ภายในเวลาไม่ถึง 2 วัน

      “เหตุการณ์นี้สอนให้รู้ว่า เราทำได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจในการพัฒนาหลักสูตรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพราะตั้งแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมา 88 ปี ไม่เคยมีคณะนี้มาก่อนและตั้งเป้าจะเปิดแน่นอนในไม่ช้านี้ โดยจะต่อยอดด้านสมุนไพรทางการแพทย์ที่เราเชี่ยวชาญอยู่แล้วด้วย มองว่าต่อไปเรื่องการดูแลสุขภาพจะเป็นวาระที่สำคัญของชาติและของโลก ขณะเดียวกัน การคำนึงถึงการใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ส่วนรวมก็เป็นเรื่องสำคัญ หากจะมีการสร้างอาคารสถานที่ในอนาคตต้องคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ด้วย”

      “ประทับใจการมีส่วนร่วมของบุคลากร ชุมชน และทุกภาคส่วนที่ช่วยเหลือกันอย่างต่อเนื่อง สลับผลัดเปลี่ยนเวรทำงานกันอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย มีคุณหมอพยาบาลเข้ามาดูแลและให้กำลังใจผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเครียด โดยเรามีจิตแพทย์และมี ‘พยาบาลแม่เสียงทอง’ ที่คอยร้องเพลงให้ผู้ป่วยฟังเพื่อคลายเครียด จนผู้ป่วยประทับใจและเขียนจดหมายมาขอบคุณ การทุ่มเทและเอาใจใส่นี้ สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น จนมีผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อมากกว่าปีก่อน ๆ กว่า 1,000 คน”

รศ.ดร.วีระพล ทองมา
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
—————————

 

 

317797723 543480667821591 4487004146748547875 n


2-05
“ความสำเร็จจากการทำงานอย่างมีระบบ”

     หนึ่งในบทบาทสำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 คือการดูแลและอำนวยความสะดวกให้กับโรงพยาบาลสนามภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวง อว. ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศมากกว่า 70 แห่ง โดยหากที่ใดต้องการความช่วยเหลือ ทาง สป.อว. จะเป็นผู้ประสานและสนับสนุนการทำงานให้ราบรื่นที่สุด ขณะเดียวกันก็ยังทำโครงการ อว.พารอด ติดตามรับฟัง ให้กำลังใจ และทำกล่องสิ่งของจำเป็น ทั้งอาหาร เวชภัณฑ์ สมุนไพรให้กับกลุ่มผู้ป่วยควบคู่กันไปด้วย

       “ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย เพราะสามารถช่วยเหลือคนในชุมชนได้อย่างดีเยี่ยม และทำให้เราได้เห็นถึงภาพการเสียสละของเจ้าหน้าที่และบุคลากรในทุกมหาวิทยาลัยที่เป็นกองหนุนให้สถานการณ์สาธารณสุขของประเทศเดินหน้าไปได้ รู้สึกประทับใจมากตอนที่ไปเยี่ยมโรงพยาบาลสนาม รู้ว่าทุกคนเหนื่อยมาก แต่ยังทำงานกันอย่างเต็มที่และสมบูรณ์ที่สุดในเวลาที่จำกัด รวมถึงต้องขอบคุณเครือข่าย อว. ที่ร่วมบริจาคเงินและสิ่งของเข้ามา เพื่อให้เราได้รวบรวมและจัดซื้อสิ่งของให้กับโรงพยาบาลเพื่อดูแลผู้ป่วยต่อไป”

       “บทเรียนที่ได้จากการทำงานในภาวะวิกฤติคือ การมีระบบทำงานที่ดีจะเป็นเคล็ดลับของความสำเร็จ ไม่ว่าภารกิจจะใหญ่หรือหนักหนาแค่ไหนก็จะผ่านไปได้ หากเรามอบหมายหน้าที่อย่างชัดเจน มีกลไกการติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทำความเข้าใจปัญหาอุปสรรคในการทำงานแต่ละวันและแก้ไขอย่างรวดเร็วก่อนที่ปัญหาใหม่จะมาถึง โดยไม่ควรพอกพูนปัญหาไปเรื่อย ๆ จนไม่สามารถรู้ต้นตอที่แท้จริงของปัญหาได้ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าโควิด-19 คือโรคอุบัติใหม่ ทุกคนไม่มีข้อมูลมากพอ จึงมีปัญหาหรือบทเรียนใหม่ให้ได้เรียนรู้ในทุกวัน”

คุณสุณีย์ เลิศเพียรธรรม
ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
—————————

 

 

318097118 543480741154917 7624157816874320475 n


2-06
“สื่อสารดีช่วยสร้างพลังบวก”

     หลังได้รับนโยบายจากทาง อว. ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีจำนวนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงเรียกประชุมด่วนพร้อมหารือกับทางจังหวัด โดยใช้เวลาเตรียมการไม่ถึง 2 วันก็สามารถเปิดพื้นที่โรงพยาบาลสนามรับผู้ป่วยที่ล้นมาจากโรงพยาบาลขอนแก่นได้ถึง 300 เตียง มีทีมแพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ซึ่งเป็นโรงพยาบาลประจำมหาวิทยาลัยคอยดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดทำมาตรฐานความปลอดภัย ป้องกันการแพร่เชื้อ และลดความกังวลของบุคลากรควบคู่กันไปด้วย

      “การทำความเข้าใจเรื่องข้อมูลโรคระบาดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะทำให้ผู้รับสารได้รับรู้ข้อเท็จจริง หากย้อนไปตอนนั้น ข่าวสารมาจากหลายทิศทางจนไม่รู้ว่าอะไรคือข้อมูลจริงหรือปลอม จนก่อให้เกิดความวิตกกังวล แต่เมื่อสร้างความเข้าใจ ชี้แนะบนพื้นฐานวิชาการ ที่สุดคนก็จะเข้าใจและไว้ใจ จึงเชื่อว่าการสื่อสารที่ดีจะเป็นพลังช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวก ให้การดำเนินงานในหลายด้านลุล่วงไปได้ด้วยดี ทั้งภารกิจของโรงพยาบาลสนามและการฉีดวัคซีนที่ในช่วงแรก หลายคนยังลังเลที่จะฉีด”
  
      “ประเทศไทยควรเตรียมรับมือกับวิกฤติในอนาคตด้วยการสร้างนวัตกรรม อย่างช่วงที่อุปกรณ์ขาดแคลน ทั้งหน้ากากอนามัย ชุด PPE หรือเครื่องช่วยหายใจ หากไม่มีอุปกรณ์เหล่านี้ ผู้ป่วยหรือบุคลากรทางการแพทย์ก็ไม่มีทางรอด ไทยอาจไม่ขาดแคลนอุปกรณ์ง่าย ๆ แต่จะมาตกม้าตายเรื่องเครื่องมือทางการแพทย์ที่ต้องนำเข้าเป็นหลัก ดังนั้นควรใช้โอกาสนี้ผลิตหรือพัฒนาเครื่องมือและนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ในประเทศโดยที่ไม่ต้องรอการนำเข้าจากต่างประเทศและอาจส่งออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศได้อีกด้วย”

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล
อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
————————— 

 
สำหรับผู้ที่สนใจอ่านชุดหนังสือ ‘เพราะเธอเป็นลมหายใจ’ เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าและถอดบทเรียนการทำงานและความร่วมมือของชาว อว. เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวไทยให้ก้าวผ่านวิกฤติการณ์โรคระบาดโควิด-19 ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา สามารถคลิกอ่านได้ที่ https://bit.ly/MHESIagainstCOVID19

 

เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

เทคโนโลยี CCUS ด้วยพลังงานสะอาด (CCUS By Green Power) “อว. ทำอะไรเพื่อคนไทยบ้าง” ภารกิจที่ 2 โรงพยาบาลสนาม อว. กองหนุนขนาดยักษ์

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • กฐินพระราชทาน
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.