กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • คลังข้อมูล
  • Infographic/Quote

“จากใจชาว อว.” ภารก ...

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
07 Dec 2022

317853956 543471501155841 4030097499119312212 n

“จากใจชาว อว.”
ภารกิจที่ 1 โรงพยาบาลหลัก อว. ความหวังของผู้ป่วย
กองกำลังทีมแพทย์ด่านหน้ากับความหวังของประชาชนในช่วงวิกฤติโควิด-19

       ภารกิจของงานสาธารณสุขไทยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ได้รับการขับเคลื่อนโดยทีมแพทย์ด่านหน้าและบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดโรงเรียนแพทย์ทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญที่ประชาชนต่างฝากความหวังและชีวิตไว้ในช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต

       ท่ามกลางภาวะโรคอุบัติใหม่ที่เกิดเหตุการณ์ผันผวนรายวัน กว่าสถานการณ์จะเดินทางมาถึงวันนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ทีมแพทย์จากโรงพยาบาลหลักต้องผ่านอะไรมาบ้าง สามารถติดตามได้จาก 8 เรื่องราวการทำงานของ 8 นักรบชุดขาวในโรงพยาบาลสังกัดโรงเรียนแพทย์ ทั้งการทำงานหนักเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วย เดินหน้างานวิจัยเพื่อคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมหรือวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เรื่องราวแห่งความประทับใจและสะเทือนใจในเวลาเดียวกัน พร้อมกับการเรียนรู้จากวิกฤติที่ต้องรีบพลิกกลับมาเป็นโอกาส เพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤติในอนาคต
—————————
สำหรับผู้ที่สนใจอ่านชุดหนังสือ ‘เพราะเธอเป็นลมหายใจ’ เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าและถอดบทเรียนการทำงานและความร่วมมือของชาว อว. เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวไทยให้ก้าวผ่านวิกฤติการณ์โรคระบาดโควิด-19 ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา สามารถคลิกอ่านได้ที่ https://bit.ly/MHESIagainstCOVID19

317489363 543473661155625 2663429658245130590 n


1-01
“ศิริราชกับภารกิจด่านหน้ารับมือโควิด-19”

       ย้อนกลับไปเดือนมกราคม 2563 เมื่อโรงพยาบาลศิริราชรับดูแลผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกของไทย จึงได้ตัดสินใจเปิดวอร์รูมเพื่อประเมินสถานการณ์อย่างรวดเร็ว การติดตามทำให้รู้ว่า แม้มีเคสต่อวันจำนวนไม่มาก แต่มีสัญญาณที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากนั้น ศิริราชจึงได้จับมือกับอีก 4 คณะแพทยศาสตร์ซึ่งทำงานร่วมกันอยู่แล้ว เร่งนำทักษะความรู้ออกมากู้วิกฤติร่วมกับรัฐบาล

      “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” เป็นคำขวัญที่พวกเราช่วยกันคิด เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันป้องกันโรค เรามียุทธศาสตร์มากมายเพื่อควบคุมโรค      ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ผลิตงานวิจัยต่าง ๆ ที่ช่วยชีวิตผู้คน อย่างการคิดค้นการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ ที่องค์การอนามัยโลกนำไปอ้างอิงถึงประสิทธิภาพของนโยบายที่ดีในบทความ WHO Interim Recommendations เป็นต้น ภารกิจทั้งหมดที่พวกเราช่วยกันทำถือว่าช่วยควบคุมสถานการณ์ได้ดี จำนวนผู้เสียชีวิตต่ำ มีตัวเลขดีกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก และการแพทย์ถูกพัฒนาเป็นระบบมากขึ้น”

       “การแก้ปัญหาโควิด-19 เปรียบเหมือนการทำโปรเจกต์ที่มีสมาชิกเป็น 3 ภาคส่วนคือ รัฐบาล นักวิชาการ และสังคม เราต้องตัดสินใจให้เร็วและทำงานไปพร้อมกัน ถ้าสู้เพียงลำพังไม่มีทางสำเร็จ สิ่งที่ประทับใจคือ แม้ทุกคนรู้ว่ากำลังแก้ปัญหาในเรื่องที่เสี่ยง แต่ไม่มีใครถอย เดินหน้าทำทันทีทั้ง ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน และได้เรียนรู้ว่า เราต้องไวในการป้องกันภาวะคุกคามของจุลชีพ หรืออุบัติการณ์ต่าง ๆ ก่อนที่จะเกิดขึ้น พัฒนานวัตกรรมออกมาตั้งรับ กำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจนและต้องปรับกฎระเบียบให้ง่ายต่อการทำงาน”

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
—————————

 

317846073 543473754488949 7692250702099664204 n


1-02
“เคสแรกของโลกที่รามาธิบดี”

       บทบาทของรามาธิบดีในวิกฤติโควิด-19 คือการเดินหน้าไปพร้อมกันใน 3 ส่วน ได้แก่ การดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ผ่านโรงพยาบาลรามาธิบดี พญาไท และโรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ การศึกษาและงานวิจัยพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ รวมถึงการผลิตนักศึกษาแพทย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งภารกิจทั้งหมดนี้ เริ่มต้นจากวางแผนการทำงานตั้งแต่ยังไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในไทย แต่ถึงกระนั้นการแพร่ระบาดที่รวดเร็วและรุนแรงก็ทำให้การควบคุมโรคน่ากังวลยิ่งขึ้น

       “ท่ามกลางความวิตกกังวลต่อโรคระบาดใหม่ แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ความเสียสละของบุคลากร ทุกคนที่ไม่ได้กลับบ้าน ต้องอยู่ยาว ลุยงานกันเป็นเดือน ๆ มีเคสหนึ่งน่าประทับใจและเป็นความสำเร็จเคสแรกของโลกคือ การปลูกถ่ายไขกระดูกคนไข้ธาลัสซีเมีย ซึ่งผู้บริจาคคือน้องชายอายุ 5 ขวบ ทีมแพทย์ล้างไขกระดูกของพี่สาวเพื่อเตรียมการปลูกถ่ายแล้ว แต่น้องชายกลับติดโควิดขึ้นมา นี่จึงเป็นเคสแรกที่นำไขกระดูกจากคนไข้โควิดไปใส่ในร่างกายของผู้ที่ไม่มีเชื้อ แต่ไม่มีทางเลือกอื่น หากไม่ปลูกถ่าย พี่สาวอาจเสียชีวิตได้ ท้ายที่สุดทำสำเร็จ พี่สาวไม่ติดเชื้อและทั้งคู่รอดชีวิต”

       “วิกฤติให้บทเรียนสำคัญและฉายภาพความไม่พร้อมในหลายด้าน อาทิ กฎหมายที่อาจยังไม่รองรับสถานการณ์โรคระบาดเท่าที่ควร โครงสร้างพื้นฐานในกรุงเทพฯ ที่ไม่มี Primary Care เหมือนต่างจังหวัด ทำให้คนไข้กระจุกตัวจนดูแลประชาชนได้ไม่ครบถ้วน องค์การอาหารและยา (อย.) ที่ต้องปรับบทบาทตัวเองใหม่ในการขึ้นทะเบียนวัคซีนและเวชภัณฑ์ รวมถึงระบบไอทีที่ไม่เชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงาน ต้องปรับให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เข้าถึงกันได้ง่าย เมื่อได้บทเรียนแล้ว เราก็ควรเตรียมพร้อมให้ดีก่อนที่วิกฤติใหม่จะมาเยือน”

ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา
คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
—————————

 

318004567 543473864488938 4189059627534385482 n



1-03
“ซิโนฟาร์ม วัคซีนเพื่อคนไทยทุกกลุ่ม”

       ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (CRA) เป็นหน่วยงานน้องใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2559 โดยเป็นสถาบันการวิจัยและวิชาการชั้นสูงที่จัดการศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และการสาธารณสุข สำหรับในสถานการณ์โควิด-19 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์อาจไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง แต่หากได้มีส่วนร่วมในการให้ความรู้เพื่อลดความตระหนก จัดหาและฉีดวัคซีนให้กับประชาชน รวมถึงการทำงานด้านการวิจัย

       “ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เป็นที่แรกที่นำวัคซีนซิโนฟาร์มเข้ามาในประเทศไทย หากย้อนไปตอนนั้นที่หลายประเทศเริ่มได้รับวัคซีนกันแล้ว แต่เรายังติดปัญหาเรื่องระบบราชการ ทำให้ได้วัคซีนล่าช้า ด้วยการที่องค์กรปรับตัวได้เร็วจึงลองศึกษาข้อมูล ซึ่งเราได้รับการติดต่อจากตัวแทนในจีนเพื่อเสนอวัคซีนซิโนฟาร์ม โชคดีที่องค์การอนามัยโลกก็อนุมัติให้ใช้ได้ในภาวะฉุกเฉิน เราจึงนำเข้ามาทันที ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลเพิ่งได้รับวัคซีนซิโนแวครอบแรก แต่มีจำนวนไม่เพียงพอ เราจึงช่วยแบ่งเบาภาระ ฉีควัคซีนให้แรงงาน กลุ่มเปราะบาง และประชาชนกว่า 10 ล้านโดส”

        “ตอนทำภารกิจ เราเหนื่อยกันมาก แม้ฉีดวัคซีนให้ประชาชนกว่าร้อยละ 10 ของประเทศ แต่มีบุคลากรที่ทำงานในส่วนนี้แค่ 10 คน เพราะภารกิจหลักอื่น ๆ ยังต้องเดินหน้าต่อเช่นกัน โดยได้นำระบบไอทีและออกแบบแพลตฟอร์มเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชน รวมถึงได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน อย่างโครงการหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ช่วยกระจายการฉีควัคซีนไปยังผู้คนในพื้นที่ห่างไกล ชายขอบ รวมถึงคนที่ไม่มีสัญชาติ นักเรียน พระภิกษุสงฆ์ จนสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี”

ศ.นพ.นิธิ มหานนท์
เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
—————————

 

 

317830150 543473971155594 6016294832377544704 n


1-04
“การเตรียมพร้อม ทำได้เลย ไม่ต้องรอวิกฤติ”

       คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในนาม ‘One Chula’ โดยรวมบุคลากรกว่า 11,000 คน มาร่วมกันทำงาน โดยตั้งเป้าเป็นสถาบันต้นแบบด้านการแพทย์ที่ได้รับมาตรฐานระดับนานาชาติของไทย สำหรับโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด-19 แท้จริงแล้ว ทางจุฬาฯ ได้ให้ความสำคัญและตั้งศูนย์โรคอุบัติใหม่ (Emerging Infectious Diseases Center) ก่อนจะมีการระบาดของโควิด-19 มานานกว่า 5 ปีแล้ว

       “เวลาที่เราประเมินความเสี่ยงของประเทศ มองว่าโรคอุบัติใหม่เป็นสิ่งสำคัญมาก เราจึงตั้งศูนย์ฯ ขึ้นมาตั้งแต่มีโรคซาร์ส โรคเมอร์สเกิดขึ้น มีการเปิดห้องแล็บวิจัยและวินิจฉัยโรค มีการรักษาพยาบาลที่แยกจากผู้ป่วยทั่วไป เมื่อเราเตรียมพร้อมไว้ระดับหนึ่ง เมื่อมีผู้ป่วยโควิดรายแรกเข้ามาในไทย เราจึงสามารถตรวจสอบและส่งผลเพื่อยืนยันกับแล็บที่ประเทศจีน ซึ่งผลก็ตรงกัน ทำให้เราเป็นประเทศที่วินิจฉัยผู้ป่วยโควิดซึ่งอยู่นอกประเทศจีนได้ครั้งแรกของโลก เพราะผลจากการเตรียมตัวของบุคลากรมาแล้วล่วงหน้า รวมถึงทุ่มเทในทุกหน้างาน ทุกคนคือ ฮีโร่จริง ๆ ”

       “เมอร์สและซาร์สให้บทเรียนที่น่ากลัว ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่คือ บุคลากรทางการแพทย์ ตอนนั้นก็กังวล แต่เพื่อลดความกลัว เราต้องดูแลทุกอย่างให้ได้มาตรฐานที่สุด ป้องกันทีมและผู้ป่วยให้ปลอดภัย นวัตกรรมใหม่จึงควรคิดค้นออกมาเพื่อรองรับวิกฤติ มองว่าโควิดสอนสิ่งที่สำคัญมาก คือเราสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมาได้จากความรู้ที่มี โควิดเป็นแค่ตัวเร่งให้เห็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีก 10 ปี เกิดขึ้นได้ในเวลาแค่ไม่กี่เดือน พวกเรามีศักยภาพ แต่ไม่มีกลไกขับเคลื่อนให้สำเร็จ หลังจากนี้จึงควรเริ่มทำงาน เตรียมพร้อมกันได้เลย ไม่ต้องรอให้อะไรมาบังคับ”

รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
—————————

 

318181140 543474061155585 5796613602479194913 n



1-05
“หน้าด่านเมืองเหนือ สู้ภัยโควิด-19”

       โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (สวนดอก) เป็นพื้นที่ของหน่วยงานด่านหน้าเพื่อรับมือกับวิกฤติโควิด-19 รองรับผู้ป่วยระดับหนักและรุนแรง รวมถึงกลุ่มเปราะบางอย่างผู้สูงอายุและเด็กกำพร้าในพื้นที่เชียงใหม่ แม้หนักหนา แต่ก็ผ่านมาได้ ขณะเดียวกัน ทีมทำงานยังได้เรียนรู้จากวิกฤติและรู้จักนวัตกรรมใหม่ที่เป็นโอกาสพัฒนาการทำงานให้ดียิ่งขึ้นจนผ่านการประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน HA (Re-accreditation Survey) เป็นโรงพยาบาลคุณภาพระดับ Advance HA

       “ขณะที่นั่งเป็นประธานวอร์รูมคนไข้โควิด สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของโรคอย่างรวดเร็วตลอดช่วงระยะเวลา 2 ปี ทั้งการอุบัติใหม่และการกลายพันธุ์ที่ทำให้เราไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ ต้องปรับตัวบนความท้าทายตลอดเวลาโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของการทำงาน มีทีมเวิร์กที่ดี คอยติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประสานการทำงานกับสาธารณสุขจังหวัดได้อย่างราบรื่น จนสถานการณ์โควิด19 ในเชียงใหม่ที่ติดอันดับจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุดในช่วงแรกดีขึ้น นี่คือผลลัพธ์ของพลังความร่วมมือร่วมใจที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน”

        “ในอนาคตอาจจะมีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นอีก ทางโรงพยาบาลจึงเตรียมพร้อม ทั้งทางด้านบุคลากรและสถานที่ไว้รองรับ รวมถึงมาตรการชีวิตวิถีถัดไป (Next Normal) หรือการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่หลังจากปรับตัวกับสถานการณ์โควิด-19 จนคุ้นชิน โดยเฉพาะในส่วนของการเดินทางมารักษาตัวที่โรงพยาบาล ที่อาจปรับเปลี่ยนเป็นการพบแพทย์ออนไลน์ หรือการรักษาจากที่บ้านไม่ต้องมาโรงพยาบาล เป็นต้น รวมถึงการทำงานแบบสหวิชาชีพที่ชัดเจนมากขึ้น เน้นการทำงานที่มีคุณภาพและรวดเร็ว หากปรับตัวช้าจะตามโรคไม่ทัน และเน้นสื่อสารกับประชาชนตลอดเวลา เพื่อความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน”

ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
—————————

 

 

317998439 543474197822238 7151213065604100716 n


1-06
“แม่ทัพใหญ่รับมือวิกฤติโควิด-19”

      ทีมแพทย์ด่านหน้า คือบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำหน้าที่ให้การรักษาและดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ถือเป็นกลุ่มบุคคลสำคัญที่จะนำพาคนไข้ผ่านวิกฤติครั้งนี้ให้ได้อย่างดีที่สุด โดยในระยะแรก ทีมด่านหน้าหลายคนไม่มั่นใจว่าการทำงานจะปลอดภัยหรือไม่ แต่เมื่อมีการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง ไม่นาน บุคลากรของโรงพยาบาลศิริราชทุกคนก็สามารถลุยงานต่อได้อย่างไร้ความกังวลและมีประสิทธิภาพสูงสุด

       “ส่วนตัวเคยผ่านวิกฤติที่ต้องช่วยเหลือผู้ป่วยครั้งใหญ่มาแล้วสองครั้งคือ ไข้หวัดใหญ่ในปี 2552 และน้ำท่วมกรุงเทพฯ เมื่อปี 2554 แต่เหตุการณ์นี้ต่างออกไป เพราะเป็นโรคอุบัติใหม่ ซึ่งนอกจากการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรแล้ว ยังต้องสนับสนุนเครื่องมือแพทย์เพื่อให้พวกเขาทำงานได้ง่ายและปลอดภัยที่สุด โดยในช่วงนั้น ศิริราชเปิดรับเงินบริจาคเพื่อภารกิจนี้โดยเฉพาะ มีเงินหลั่งไหลเข้ามาจำนวนมาก จึงสามารถแบ่งไปช่วยเหลือโรงพยาบาลขนาดเล็กทั่วประเทศได้อีก 200 แห่ง กว่า 300 ล้านบาท เพื่อดูแลผู้ป่วยให้ดีที่สุดไปพร้อม ๆ กัน”

      “โควิด-19 เป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ใช่แค่โรงพยาบาลไม่กี่แห่งจะรับมือได้ แต่เป็นงานกลุ่มที่ต้องเชื่อมโยงกับหน่วยงานภายนอก ทั้งด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม สื่อมวลชน รวมถึงภาคเอกชนที่ผลิตสินค้าต่าง ๆ เรียกได้ว่าวิกฤตินี้ทำให้เห็นภาพความร่วมมือของสถานพยาบาลกับหน่วยงานภายนอกครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย ทุกคนมีใจอยากช่วยโดยมองข้ามเรื่องผลประโยชน์ และอีกภาพที่ประทับใจคือ การได้เห็นผู้ป่วยวิกฤติ หายดี และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติอีกครั้ง ซึ่งเป็นผลจากความทุ่มเทของทีมแพทย์ด่านหน้าที่ตั้งใจดูแลอย่างเต็มที่ที่สุด”

นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล
หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
—————————

 

317958034 543474681155523 308421718069122458 n



1-07
“เครือข่ายโรงเรียนแพทย์ รวมพลังคลังสมองรับมือโควิด-19”

       หน้าที่หลักของเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) คือการเชื่อมโยงการทำงาน ระดมสมอง และสรรพกำลังของโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยทั้ง 25 แห่งทั่วประเทศ เพื่อร่วมแก้ปัญหาสาธารณสุขของไทย ตลอดจนนำเสนอรูปแบบการบริการและพัฒนาระบบประกันคุณภาพให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยในช่วงโควิด-19 งานทุกอย่าง ทั้งเรื่ององค์ความรู้ งานวิจัย รวมถึงการดูแลรักษาผู้ป่วย ได้รับการยกระดับขึ้นมาเป็นวาระสำคัญให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วน

        “ทุกภารกิจคือ ความรับผิดชอบของทุกคน ทำตามศักยภาพที่มีอย่างเต็มที่ และทำงานแบบรู้หน้าที่โดยไม่ต้องรอให้ใครมอบหมาย งานจึงสำเร็จและก้าวข้ามข้อกำจัดไปได้ ด้วยความร่วมมือของทุกคน แม้จะต้องปรับตัวกันขนานใหญ่ ทำงานกันหนักขึ้น เนื่องจากระบบงานบางอย่างไม่ได้ถูกคิดไว้ล่วงหน้า บุคลากรต้องทำงานกันเกือบตลอดเวลา ค้นคว้าหาข้อมูล ทำวิจัย หรือพัฒนานวัตกรรมให้ทันต่อสถานการณ์ รู้ว่าเหนื่อย แต่เชื่อว่าทุกคนภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่ ภาพรอยยิ้ม น้ำใจ และความทุ่มเทในวิกฤติ เป็นภาพที่สวยงามมาก”

        “วิกฤติเกิดขึ้นให้เราได้เรียนรู้และนำมาพัฒนาระบบรับมือให้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้คนทำงานไม่เหนื่อยจนเกินไป โดยต้องเริ่มจากการวางแผน จัดให้มีการซ้อมและทบทวนการทำงานอย่างน้อยปีละครั้ง รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ในทุกระดับ หากรับมือกับวิกฤติได้เร็วก็จะทำให้เราฟื้นตัวได้เร็ว ทั้งสภาพจิตใจของผู้คนและศักยภาพของประเทศ ขณะที่ภาพใหญ่ หน่วยงานที่จัดระบบต้องตรวจสอบระบบอย่างสม่ำเสมอ จะได้ปรับแผนตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที รวมถึงติดตามและพัฒนาเทคโนโลยีที่จะมาช่วยให้การทำงานดีขึ้นด้วย”

รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ
ประธานเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet)
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
—————————

 

317646660 543474744488850 4808220529720582532 n



1-08
“โรคอุบัติใหม่กับความท้าทายที่ไม่ยึดติดกรอบเดิม ๆ”

       คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับเป็น 1 ใน 5 โรงเรียนแพทย์ที่ร่วมกันเสนอข้อมูล ประเมิน และติดตามสถานการณ์ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รวมถึงให้ความรู้กับประชาชนคู่ขนานไปกับการรับมือและปรับนโยบายภายในเพื่อดำเนินการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ให้ดีที่สุด ผ่านโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ ที่บางช่วงมีผู้ป่วยมากเกินกว่าที่จะรองรับได้

       “ช่วงปี 2564 ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากและเป็นคนไข้หนัก ทำให้อุปกรณ์บางอย่างไม่เพียงพอ กว่าจะรับเคสคนไข้ไอซียูก็ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน ทำให้เราต้องพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จากเดิมมีห้องความดันลบแค่ 2 ห้อง ตอนนี้มีเพิ่มขึ้นสามารถรองรับได้ถึง 70-100 คน นั่นคือการปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อชีวิตของผู้ป่วย ภาพรวมการทำงานถือว่าสำเร็จ มองว่าเกิดจากที่ทุกคนเปิดรับความเห็นกัน หากมีอีโก้ยึดติดกับสิ่งเดิมบนสภาวะของโรคอุบัติใหม่ก็คงไปต่อไม่ได้ มันมีสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้ทุกวันซึ่งถือว่าหลุดออกจากกรอบการทำงานปกติพอสมควร”

       “ภาพที่เห็นเป็นประจำคือ ทีมแพทย์เหงื่อท่วมชุด วิ่งวุ่นรับเคสผู้ป่วยใหม่ บุคลากรทุ่มเททำงาน สองสัปดาห์แล้วก็ยังไม่ได้กลับบ้าน ทำงานอยู่ก็ต้องกักตัวต่อ อาจารย์แพทย์กลับมาช่วยกันคิดระดมความเห็น อาสาสมัครตั้งโต๊ะรับคนไข้และประสานส่งยาให้ถึงบ้าน พวกเรามักชื่นใจทุกครั้งที่เห็นคนไข้ที่เราดูแลหายป่วย จากต้องใส่ท่อหายใจ เขาได้ชีวิตกลับมาอีกครั้ง เป็นความสุขที่รับรู้ได้ แม้การรักษาจะอยู่ไกลกัน พวกเขาได้กลับบ้านไปอยู่กับครอบครัว ไม่ต้องโดดเดี่ยวอีกแล้ว”

รศ.นพ.ดิลก ภิยโยทัย
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
—————————
      สำหรับผู้ที่สนใจอ่านชุดหนังสือ ‘เพราะเธอเป็นลมหายใจ’ เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าและถอดบทเรียนการทำงานและความร่วมมือของชาว อว. เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวไทยให้ก้าวผ่านวิกฤติการณ์โรคระบาดโควิด-19 ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา สามารถคลิกอ่านได้ที่ https://bit.ly/MHESIagainstCOVID19

 

เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

“ถอดบทเรียนการต่อสู้กับโควิด-19” ภารกิจที่ 1 โรงพยาบาลหลัก อว. ความหวังของผู้ป่วย ปรับวิธีการบริหาร เสริมงานวิจัยให้ไวต่อสถานการณ์ แก้กฎระเบียบให้เอื้อต่อภาวะวิกฤติ “อว. ทำอะไรเพื่อคนไทยบ้าง?” ภารกิจที่ 1 โรงพยาบาลหลัก อว. ความหวังของผู้ป่วย

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.